การพัฒนาอาหารไทยบรรจุในถุงทนความร้อนสูง
Process Development of Thai Food in retortable pouch for Exporting

ที่มาของโครงการ :
          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินงานวิจัยโครงการพัฒนาบุคลากรและกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยฮาลาล โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีผลการวิจัยด้านสูตรอาหารและกระบวนการผลิตอาหารที่บรรจุในกระป๋อง และบรรจุในภาชนะอ่อนตัวทนความร้อนสูง พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป

ขอบเขตการวิจัย :
          การผลิตอาหารไทยสำเร็จรูปที่บรรจุในถุงทนความร้อนสูง (retortable pouch) มีศักยภาพที่จะพัฒนาเพื่อการส่งออกด้วยรูปลักษณ์ของถุงที่แบนบาง มีน้ำหนักน้อย สะดวกในการขนส่งในการพัฒนากระบวน การผลิตอาหารที่บรรจุในถุงทนความร้อน ได้ให้ความสนใจศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

คุณสมบัติของถุงทนความร้อนสูง (Retortable Pouch)
- เป็นถุงพลาสติกที่สามารถทนความร้อนได้ถึง 121 องศาเซลเซียส
สามารถบรรจุอาหารแล้วนำไปต้มที่อุณหภูมิสูงได้
- ใช้เป็นภาชนะบรรจุแทนกระป๋อง
- ทำจากพลาสติกพิเศษที่ซ้อนกันหลายชั้นและยังมีแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์แทรกอยู่ระหว่างชั้นของพลาสติก สามารถทนความร้อนและความดันในหม้อนึ่งฆ่าเชื้อได้
- ลดเวลาฆ่าเชื้อลงประมาณ 10-30 %
- มีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย
- สามารถพิมพ์ฉลากให้สวยงามได้
- ลดต้นทุนการขนส่ง
- ลดต้นทุนการเก็บรักษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถพัฒนาตำรับอาหารไทยฮาลาลให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย
2. สามารถพัฒนากระบวนการผลิต และเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์อาหารไทยฮาลาลให้มีมากขึ้น เป็นการสร้างโอกาสให้อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยเปิดตลาดได้กว้างขึ้น
3. สามารถผลิตอาหารไทยฮาลาลสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูปบรรจุในซองทนความร้อน ซึ่งสะดวก และขนส่งได้ในปริมาณมากกว่าอาหารบรรจุกระป๋อง
4. สามารถสร้างความมั่นใจ และการยอมให้กับผู้บริโภคอาหารไทยฮาลาล ว่าอาหารไทยฮาลาลได้รับการผลิตอย่างถูกต้องตามหลักของอาหาร ช่วยให้ประเทศไทยสามารถส่งออกอาหารไทยฮาลาลที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามความต้องการของตลาดในต่างประเทศ
5. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบในการผลิตอาหารไทยฮาลาล และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รวมถึงเทคนิคการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะให้ผู้ประกอบการอาหารไทยฮาลาล บริษัทผู้ผลิตเอกชน หรือผู้ที่สนใจประกอบอาหารฮาลาล เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ผลิตอาหารไทยฮาลาลให้มากขึ้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ :
ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบริการที่ปรึกษา
Center of Excellence for Food Innovation Research and Service in Thailand (KU – FIRST)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 02 5625020 โทรสาร 02 5625021

              
     
 

 

สมจิต สุรพัฒน์ และ คณะ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร
โทร 0-2562-5020