อะฟลาทอกซินเป็นสารพิษสร้างขึ้นโดยเชื้อรา
เป็นสารก่อมะเร็งในคน เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงถึง 270
องศาเซลเซียสจึงสามารถทนต่อกระบวนการแปรรูปได้และหลงเหลือในผลิตภัณฑ์อาหาร
อะฟลาทอกซินมักพบปนเปื้อนในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคเป็นส่วนผสมของอาหารคาวและขนมขบเคี้ยวของคนไทย
ปัญหาการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ
และนำเข้าบ่อยครั้งที่มีผลทำให้ผู้บริโภคภายมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษในขณะเดียวกัน
สินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกถูกกักเมื่อพบปริมาณอะฟลาทอกซินเกินมาตรฐานที่กำหนด
ส่งผลเสียโดยตรงต่อชื่อเสียงผู้ผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยได้ทำการ
1) ตรวจติดตามสถานการณ์การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
ในช่วงปี 2547-48 โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากแหล่งปลูกที่จังหวัดลำปาง
แหล่งผลิตที่จังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในลักษณะโรงงานและกลุ่มแม่บ้าน
จำนวน 9 และ 12 แห่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างสินค้านำเข้า
ตลาดนำเข้าด่านเชียงแสนจังหวัดเชียงรายและด่านอรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว
ถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านโรงงานผลิต ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถั่วลิสง
ตลาดขายส่งกระจายสินค้าเกษตรและห้างสรรพสินค้าวิเคราะห์หาปริมาณอะฟลาทอกซิน
ข้อมูลปฐมภูมิประมวลที่ได้ใช้สนับสนุนการประเมินสถานการณ์โอกาสเสี่ยงของถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน
2) เสนอวิธีลดปริมาณการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงป่นโดยวิธีคัดเลือกด้วยมือ
(hand sorting) วิธีฉายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และวิธีรมแก๊สแอมโมเนียและ
3) ระบบ GMP เพื่อใช้ในการจัดการสุขลักษณะของกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวและการผลิตถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์แก่ผู้ผลิตโรงงานและกลุ่มแม่บ้าน
จำนวน 4 และ 11 แห่งตามลำดับ และถ่ายทอดการจัดการด้านความปลอดภัยอาหารโดยการประยุกต์ใช้ระบบ
HACCP ในการผลิตผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงแก่ผู้ประกอบการ 1 แห่ง
ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวในส่วนของผู้ปลูกมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มโอกาสการเจริญของเชื้อราและการสร้างอะฟลาทอกซิน
การขาดสุขลักษณะที่ดีของการจัดการโรงเรือน เครื่องมือและอุปกรณ์ผลิตการควบคุมกระบวนการกะเทาะเปลือก
มีโอกาสเพิ่มการปนเปื้อนของเชื้อรา แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างกระบวนการผลิตหากมีการคัดเลือกด้วยมือพบว่าทำให้แยกวัตถุดิบที่ปนเปื้อนออกไปได้
แต่หากไม่กำจัดถั่วลิสงตกคุณภาพ ถั่วลิสงเหล่านั้นจะยังคงอยู่ในห่วงโซ่อาหาร
และมีการนำไปทำถั่วลิสงป่น ซึ่งพบว่ามีปริมาณอะฟลาทอกซินปนเปื้อนสูงมาก
และไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาควบคุมการผลิตนี้ จาก การสำรวจและเก็บตัวอย่างวิเคราะห์
พบการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินที่มากกว่า 20 ppb ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จำนวน
55 ใน 183 ตัวอย่าง (ร้อยละ 30) พบในถั่วลิสงป่นมากที่สุด จำนวน 27
ใน 35 ตัวอย่าง (ร้อยละ 77) ชี้ชัดว่าผู้บริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอะฟลาทอกซินจากการบริโภคถั่วลิสงป่น
การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP
|