ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
โดยมีห้องปฏิบัติการเคมีคอมพิวเตอร์และเคมีประยุกต์ เป็นแกนหลักในการศึกษาวิจัย
เพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)
ซึ่งปัจจุบันกำลังมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นาโนเทคโนโลยี
(Nanotechnology) คือการสร้างและการประยุกต์ใช้งานวัสดุ อุปกรณ์
และระบบ โดยการควบคุมโครงสร้างในระดับนาโนเมตรซึ่งเป็นขนาดที่ใกล้เคียงกับขนาดของอะตอมหรือโมเลกุล
จุดมุ่งหมายของนาโนเทคโนโลยี คือ การเรียนรู้สมบัติของสสารในระดับนาโนเมตร
เพื่อนำไปสู่การออกแบบและสร้างวัสดุหรืออุปกรณ์ขึ้นมาจากโครงสร้างพื้นฐานระดับอะตอมหรือโมเลกุล
นาโนเทคโนโลยีเป็นศาสตร์ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการศึกษาวิจัยในหลากหลายสาขา
ทั้งสาขาเคมี ฟิสิกส์ เกษตรศาสตร์และชีววิทยา วัสดุและวิศวกรรมศาสตร์
เป็นที่คาดกันว่านาโนเทคโนโลยีจะทำให้เกิดวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ
เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์มากในทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในอนาคต
งานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์นาโนและนาโนเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มุ่งเน้นกลุ่มวิจัยทางด้าน คลัสเตอร์นาโนวัสดุ (Nanomaterials Cluster)
คลัสเตอร์นาโนไบโอเทคโนโลยี (Nanobiotechnology Cluster) และคลัสเตอร์นาโนอิเล็กทรอนิกส์
(Nanoelectronics Cluster)
โครงการวิจัยหลักประกอบด้วย
การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา (Nanocatalyst Design: Nanoporous and
Mesoporous Alumino Silicate zeolites, MCM-41,
Metal Oxides) และตัวรองรับที่มีโครงสร้างระดับนาโนเมตรสำหรับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
การศึกษาโครงสร้างคาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon Nanotubes, Modified
CNT, Bionanotubes) และปฏิกิริยา Bio/Organic Functionalization
ของคาร์บอนนาโนทิวบ์ และการปรับปรุงสมบัติทางเคมีและกายภาพคาร์บอนนาโนทิวบ์
การสังเคราะห์ Nanoparticle (Nanoparticles for Pharmaceutical &
Biological Applications) ด้วยวิธี Rapid Expansion
Processes
การออกแบบและการศึกษาสมบัติทางโครงสร้างอิเล็กทรอนิกส์ของเซรามิกส์อิเล็กทรอนิกส์และพอลิเมอร์อิเล็กโทรนิกส์
การศึกษาโครงสร้างและอันตรกิริยาระหว่างสารชีวโมเลกุลยาและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
Development of Computational Nanoscale Methodology
ผลงานวิจัยทางด้าน
Nanostructured and Nanoporous Materials, Newly modified nanotubes,
Nanobiology และ Nanocatalysis โดยเฉพาะตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีที่ค้นพบ
ตลอดจนผลงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกการทำงาน และสมบัติการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยานั้นมีประโยชน์ต่อกระบวนการเร่งปฏิกิริยา
ซึ่งมีความสำคัญในวงการเคมีและอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ผลงานเหล่านั้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ
เช่น Journal of Catalysis, Chemical Physics, Journal of Physical
Chemistry ซึ่งได้รับการอ้างอิงและนำไปประยุกต์ใช้โดยกลุ่มนักวิจัยจากสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ
อาทิ
Chemical Engineering Department (University of California, Berkeley)
Department of Physics (Harvard University)
Chemical Engineering Department (Massachusetts Institute of Technology)
Cavendish Laboratory (University of Cambridge)
Shell Laboratorium Amsterdam
จากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
วิชาการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักวิจัยได้รับรางวัลยกย่องเกียรติคุณ
เช่น
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งประเทศไทย
จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเคมีและเภสัช
จากสภาวิจัยแห่งชาติ
เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
นักวิทยาศาตร์รุ่นใหม่
จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ
รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมเมธีวิจัยของ สกว.
|
|
รูปที่ 1 แบบจำลองการศึกษาอันตรกิริยาของดีเอ็นเอ
(DNA) อะตอมของทอง (Au) และ คาร์บอนนาโนทิวป์ |
|
|
รูปที่ 2 เครื่อง TAP ที่ใช้ในการวิเคราะห์
Nanoporous Catalyst |
|
|
รูปที่ 3 แบบจำลองโครงสร้างนาโนซีโอไลต์ ด้วยระเบียบวิธี
embedded-technique |
|
|
รูปที่ 4 โครงสร้างและกลไกการเกิดปฏิกิริยาภายในตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดซีโอไลต์ |
|