ศูนย์นวัตกรรมทางเคมี โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี
An Overview of Research in Center of Innovation in Chemistry: Postgraduate Education and Research Program (PERCH-CIC, KU)

           ศูนย์นวัตกรรมทางเคมี : โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี ประกอบด้วยนักวิจัยที่เข้มแข็งจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น โดยมีศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภควดี สุทธิไวยกิจ เป็นผู้ประสานงานของ ศูนย์ย่อยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

           งานวิจัยของศูนย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งออกได้เป็น 4 แนวทางใหญ่ คือ

    1. การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรในการออกฤทธิ์ยับยั้งโรคต่างๆ เช่น สมุนไพรขมิ้นชันและย่านพาโหมออกฤทธิ์ต้านเชื้อไข้หวัดนก

                 1.1  สมุนไพร ขมิ้นชันและย่านพาโหม ออกฤทธิ์ต้านเชื้อไข้หวัดนก H5N1 (Anti Avian-Influenza Virus (H5N1) activity of Curcuma longa and Paederia tomentosa) (หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (NPOS))
                 สารสกัดสมุนไพรขมิ้นชันและย่านพาโหม สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการตกตะกอนเม็ดเลือดแดงของไก่โดยเชื้อไข้หวัดนก H5N1 ได้ที่ระดับความเข้มข้นช่วง 0.1 ng/mL ถึง 1 mg/mL และ 0.25 ng/mL ถึง 5 mg/mL ตามลำดับ ผลการออกฤทธิ์นี้ อาจเป็นผลจากการขัดขวางการจับกันระหว่าง Hemagglutinin (HA) กับ receptor ที่ผิวเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญ ในการเข้าสู่เซลล์ของเชื้อไข้หวัดนก ขณะนี้ได้พบสารใหม่ที่ทราบโครงสร้างแล้ว 3 ชนิดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไข้หวัดนก


                 1.2  การสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ฯต่างๆ เช่น กลุ่มแนพทอล แก้อักเสบ, กลุ่มแนพโทคิวโนนเอสเทอร์ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง และเชื้อ มาลาเรีย, และการใช้พัลลาเดียมในการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ฯต่างๆ

    2. งานทางวัสดุศาสตร์ มีการเตรียมนาโนทิวบ์ของโลหะ โดยการรีดักชันโลหะที่ได้จากสารเชิงซ้อน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานทางด้าน electronics, composite material และ catalysis การเตรียมตัวเร่ง เช่น doped-titania catalysts เพื่อนำไปใช้ในการบำบัดสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม
    3.            
                 การสังเคราะห์โลหะออกไซด์ที่มีขนาดระดับนาโน เช่น SnO2, TiO2, SiO2 การเผาพลอยโดยไม่ใช้สารเติมแต่งภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน และรีดักชัน การวิจัยทางด้าน biomaterial โดยการเตรียมสารประกอบไฮดรอกซีอะปาไทต์จากเปลือกไข่จระเข้ด้วยวิธี ไฮโดรเทอร์มอล และจากกระดูกจระเข้โดยวิธีเผา
                 Coordination polymer ซึ่งมีช่องว่างนำไปใช้แทน zeolite, ตัวพยุงตัวเร่ง, การดูดซับสารอินทรีย์, sensor หรือ dye-sensitizer ใน solar cell (ห้องปฏิบัติการผลึกศาสตร์และอัญมณีวิทยา)

                 นอกจากนี้ได้นำสีธรรมชาติจากสารสกัดจากดอกกระเจี๊ยบ ขมิ้น ครั่ง และข้าวหมักด้วยราโมแนสคัส (สีแดง และสีเหลือง) มาใช้เป็นเซนซิไทส์เซอร์ และใช้อิเล็กโทรไลต์ของแข็งมาประกอบเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดดายเซนซิไทส์ ซึ่งพบว่าเซลล์ที่ใช้สีของ สารสกัดจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพ (%?) ประมาณ0.20% ในขณะที่เซลล์ที่ใช้สีสังเคราะห์ของสารประกอบเชิงซ้อนของรูทิเนียมและ อิเล็กโทรไลต์ของแข็งมีประสิทธิภาพ (%?) ประมาณ0.70%


    4. การพัฒนาวิธี และ ตัวตรวจวัด เพื่อตรวจวัดปริมาณสารระดับเทรซ
                 พัฒนาวิธีตรวจวัดเมตาบอไลท์ไนโตรฟูราน ด้วยเครื่องมือราคาถูก วิจัยหาสารเตรียมอนุพันธ์ใหม่ที่สามารถทำปฏิกิริยากับเมตาบอไลท์ของไนโตรฟูรานแล้วดูดกลืนแสงได้ดีมาก พัฒนาตัวตรวจวัดกาซซัลเฟอร์ออกไซด์ในภาคสนาม พัฒนาวิธีทางสเปกโทรสโกปีและระบบการฉีดสารให้ไหลต่อเนื่องเพื่อหาปริมาณน้อยๆของธาตุต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และตรวจติดตาม โดยอาศัยปฏิกิริยากับ chelating agents ต่างๆ


    5. การใช้ประโยชน์ของน้ำร้อนยวดยิ่งหรือน้ำใต้วิกฤติ เช่น การสกัดสารกำจัดศัตรูพืชจากดินตะกอนและของแข็งทางสิ่งแวดล้อม การสกัดสารหอมระเหยและสารออกฤทธิ์ทางยาจากพืชสมุนไพรเช่น มะนาว มะกรูด ไพล การสกัดสารเคมีตกค้าง Nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในอาหาร การใช้ประโยชน์น้ำร้อนยวดยิ่งในการทำลายพอลิเมอร์ เป็นต้น

บุญส่ง คงคาทิพย์  งามผ่อง คงคาทิพย์  อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน  พรพรรณ พรศิลปทิพย์  สุธาทิพย์ ศิริไพศาลพิพัฒน์  
อรพินท์ เจียรถาวร  มาริสา อรัญชัยยะ  และ ภควดี สุทธิไวยกิจ
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5555 ต่อ 2252