การสำรวจหาขอบเขตของสายแร่ทองคำ
จากการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า และค่าสภาพความเข้มประจุ อย่างละเอียด
High Resolution Mapping for Gold Mineralization
by Resistivity andChargability Measurement.

           การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสำรวจหาศักยภาพแหล่งแร่ทองคำ และสามารถใช้เพื่อหาสายแร่ทองคำอย่างได้ผล แต่การสำรวจเพื่อหาสายแร่ทองคำระดับลึก (มากกว่า 100 เมตร) จึงต้องมีการออกแบบวิธีการสำรวจที่ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาวิจัยด้วยการสำรวจวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า (Resistivity) และค่าสภาพประจุไฟฟ้า (Chargability) จากการสำรวจค่าเหนี่ยวนำไฟฟ้าแบบโพลาไรเซชัน (Induce Polarization) และวัดค่าแบบ mapping ที่ระดับคลึกอย่างละเอียด บริเวณศักยภาพแหล่งแร่ทองคำ บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการสำรวจแหล่งแร่ทองคำ

วัตถุประสงค์
           ออกแบบเทคนิคและวิธีการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า และค่าสภาพประจุไฟฟ้า บริเวณศักยภาพแหล่งแร่ทองคำที่ทราบลักษณะทางธรณีวิทยาแหล่งแร่ โดยใช้วิธีการวางขั้วไฟฟ้าแบบชลัมเบอร์เจร์-เกรเดียน

พื้นที่ศึกษา
           พื้นที่วิทยาเขตศรีราชา ตั้งอยู่ระหว่างเส้นกริดตั้งที่ 708000–710000E และ พิกัดนอนที่ 1450000 – 1452000N ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 60–198 เมตร และอยู่ห่างจากทะเลประมาณ 2.5 กิโลเมตร ติดกับเขาเกษตร มีลักษณะเป็นภูเขาค่อนข้างชันทางด้านตะวันตก และตะวันออก ความชันน้อยลงเมื่อลงไปทางตอนใต้

อุทกธรณีวิทยาทั่วไป
           อุทกธรณีวิทยาทั่วไป ประกอบด้วย ตะกอนเชิงเขา (Colluvial deposits) มีความพรุนกักเก็บน้ำบาดาลได้น้อย และหน่วยหินแกรนิต (Granitic unit) น้ำบาดาลจะอยู่ในชั้นหินผุและในรอยแตก ซึ่งให้น้ำในเกณฑ์ต่ำ

วิธีการสำรวจ
           การสำรวจวัดค่าสภาพต้านไฟฟ้า (Resistivity) และค่าสภาพประจุไฟฟ้า (Chargability) โดยออกแบบการวางขั้วไฟฟ้าแบบ ชลัมเบอร์เจร์-เกรเดียน มีรายละเอียด คือ

    • พื้นที่ศึกษาวิจัย ขนาด 500 X 500 เมตร
    • เส้นสำรวจ 6 แนว ยาวแนวละ 500 เมตรวาง
      ตัว ตะวันออก – ตะวันตก ตั้งฉากกับแนวสายแร่
    • ระยะห่างระหว่างเส้นสำรวจ 100 เมตร
    • ระยะของขั้ววัดความต่างศักย์ 20 เมตร
    • ความถี่ของการอ่านข้อมูล ทุกๆ 5 เมตร ระยะขั้วไฟฟ้า C1 C2 และ C’1 C’2 คือ 1,100 และ1,700 เมตร ตามลำดับ ความลึก 150 – 200 เมตร

ผลการสำรวจ
           สามารถกำหนดเขต ที่มีค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าสูง เป็นแนววางตัวประมาณ เหนือ – ใต้ หลายเขตโดยมีรอยเลื่อน (F) วางตัวทิศประมาณ N50 ํE ขวางพื้นที่ศึกษาเขต R1 R2 และR3 ที่มีค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าสูง สอดคล้องกับค่าสภาพประจุไฟฟ้าที่สูงด้วย น่าเป็นสายแร่ทองคำที่น่าสนใจ และยังมี เขตที่แสดงเฉพาะค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า และค่าสภาพประจุไฟฟ้าที่สูงอย่างเดียวอีกหลายบริเวณ

สรุป
           การกำหนดขอบเขตที่คาดว่าเป็นแนวของสายแร่ทองคำ จากแนวเขตที่แสดงค่าสภาพต้านไฟฟ้า และค่าสภาพความเข้มประจุสายแร่ทองคำยังสัมพันธ์กับโครงสร้างทางธรณีวิทยาอีกด้วย

ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า                                    ค่าสภาพความเข้มประจุ


ดีเซลล์ สวนบุรี  และ ณัฐธีร์ รงคะพิมลพงศ์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5555 ต่อ 1409