เกษตรกรจำนวนมากนิยมปลูกพืชผักสวนครัวเป็นรายได้หลัก
นอกจากนี้มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่นิยมปลูกพืชเป็นรายได้เสริมภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี
พืชที่นิยมปลูกมีหัวหอมแดง กระเทียม ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น การเตรียมดินที่ถือปฏิบัติมีหลายวิธี
เป็นต้นว่า เกษตรกรนิยมจ้างรถไถขนาดใหญ่ไถเตรียมดิน และใช้รถไถเดินตามพร้อมอุปกรณ์ไถกระทะไถย่อยดิน
หรือไม่ก็ใช้รถไถเดินตามพร้อมอุปกรณ์ไถกระทะเตรียมดินทั้งหมด ทั้งนี้การใช้อุปกรณ์ไถกระทะไถย่อยดินไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในการใช้งานของเครื่องมือจึงต้องไถหลายๆเที่ยว
ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมดินโดยใช้เครื่องมือไถจอบหมุนซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ไถพรวนดินโดยเฉพาะ
การออกแบบและพัฒนาไถจอบหมุนติดรถไถเดินตาม
เครื่องมือไถจอบหมุนติดรถไถเดินตามถูกออกแบบและพัฒนา
2 แบบ ทั้งสองแบบเป็นชนิดที่เพลาจอบหมุนถูกขับเคลื่อนด้วยด้วยโซ่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางเพลา
ระบบถ่ายทอดกำลังเป็นแบบโซ่และฟันเฟืองโซ่ แบบที่ 1มีขนาดความกว้างของโรเตอร์
55 ซม. ใบมีดเป็นชนิดรูปตัว C จำนวน 14 ใบ แบบที่ 2 มีขนาดความกว้างของโรเตอร์
65 ซม. ใบมีดเป็นชนิดรูปตัว C จำนวน 18 ใบ รถไถเดินตามที่ใช้เพื่อติดตั้งเครื่องมือไถจอบหมุนเป็นรถไถเดินตามที่ผลิตในประเทศไทย
ใช้ระบบขับเป็นแบบสายพานรูปตัววี ระบบการส่งกำลังที่ใช้กับเครื่องมือไถจอบหมุนเป็นระบบสายพานรูปตัววี
ระบบขับเคลื่อนเกียร์เดินหน้า 2 เกียร์ เกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์ เครื่องยนต์ต้นกำลังที่ใช้เป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาดกำลังม้าสูงสุด
7.72 kW ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 2400 RPM
การทดสอบทำในแปลงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน ดินในแปลงคือ Clay ค่าความชื้นดินขณะทดลอง 15.6 %(db)
ค่าความหนาแน่นดินสภาพแห้ง 1.37 g/cc ผลการทดสอบสมรรถนะไถจอบหมุนติดรถไถเดินตามแบบ
1 ชนิดใบมีด 14 ใบ ในการไถซ้ำ 2 เที่ยวพบว่า ผลจากการปฏิบัติงานของเครื่องมือที่ความเร็ว
0.48, 0.53 และ 0.55 m/s ได้ความลึกของการไถเฉลี่ย 8.6 cm ความกว้างการทำงานจริง
51 cm ความสามารถการทำงานสนาม 0.5 0.625 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานสนาม
76.47 86.44% อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 2.77 3.17 ลิตร/ไร่
และก้อนดินที่ได้จากการไถมีขนาดเฉลี่ย 12.44 14.22 mm.
ผลการทดสอบสมรรถนะไถจอบหมุนติดรถไถเดินตามแบบ 2 ชนิดใบมีด 18 ใบ ในการไถซ้ำ
2 เที่ยว พบว่าผลการปฏิบัติงานของเครื่องมีอที่ความเร็ว 0.49, 0.55
และ 0.61 m/s ได้ความลึกของการไถเฉลี่ย 7.0 cm ความกว้างการทำงานจริง
65 cm ความสามารถในการทำงานสนาม 0.625 0.75 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานสนาม
81.30 83.46 % อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 2.10 2.59 ลิตร/ไร่
และก้อนดินที่ได้จากการไถมีขนาดเฉลี่ย 12.34 13.20 mm. เกษตรกรผู้มีรถไถเดินตามประเภทบีบเลี้ยวอยู่แล้ว
สามารถนำเครื่องมือไถจอบหมุนมาติดตั้งได้ง่ายมากโดยช่างโรงกลึงภายในท้องถิ่น
การนำไปใช้ประโยชน์
- บริษัทผู้ผลิตรถไถเดินตามประเภทบีบเลี้ยว สามารถนำเครื่องมือไถจอบหมุนติดตั้งโดยตรงกับรถไถเดินตามที่ผลิตอยู่หรือจะนำไปพัฒนาใหม่เพื่อติดรถไถเดินตาม
- บริษัทผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีเครือข่ายการตลาด
- สามารถนำไปจำหน่ายได้เพราะมีต้นทุนถูกกว่าเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ประสบการณ์การทดสอบภาคสนาม (ปลูกหอมแดง)
แปลงทดลองเกษตรกรแปลงคุณอำนวย นามวงค์ 1/4หมู่ 6 บ้านผักขะ ต.ลิ้นฟ้า
อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ ขนาดแปลงพื้นที่ 409.15 ตารางเมตร (16.7เมตร
x 24.50เมตร) แบ่งพื้นที่ 2 แปลงย่อยที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับการเตรียมแปลงโดยใช้เครื่องมือไถจอบหมุนและการเตรียมแปลงโดยใช้เครื่องมือของเกษตรกร
การเตรียมแปลงปลูกหอมแดงของเกษตรกรรายนี้จะใช้เครื่องมือ 2 อย่างคือ
ไถหัวหมู และ คราด โดยใช้เครื่องยนต์ต้นกำลัง YANMAR TF85-L (493CC)
6.4 kW หรือ 8.5 HP/2200RPM
การไถเตรียมแปลงปลูกหอมแดงแปลงทดสอบที่ 2 เป็นแปลงของคุณทองดี ชาติมนตรี
42/5 หมู่ 10 บ้านยางชุมน้อย ต.ยางชุมน้อย อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ
ขนาดแปลงมีพื้นที่ 671.99 ตารางเมตร (16.43เมตรx40.9เมตร) ซึ่งจะทำการแบ่งพื้นที่เป็นสองแปลงย่อยที่มีขนาดเท่าๆกัน
สำหรับการเตรียมแปลงโดยใช้เครื่องมือไถจอบหมุนและการเตรียมแปลงโดยใช้เครื่องมือของเกษตรกร
การเตรียมแปลงปลูกหอมแดงของเกษตรกรรายนี้จะใช้เครื่องมือสองอย่างคือ
ไถหัวหมูและคราด โดยใช้เครื่องยนต์ต้นกำลัง YANMAR SA 70-SL(402CC)7.0HP/2200RPM
การวิเคราะห์ผลทางสถิติของผลผลิตหอมแดงจากการเตรียมแปลงปลูกด้วยเครื่องมือสองชนิด
การเตรียมแปลงปลูกหอมแดงโดยใช้เครื่องมือไถจอบหมุนกับการใช้เครื่องมือของเกษตรกร
ให้ผลแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95
และ 99 % กล่าวคือ การเตรียมแปลงปลูกหอมแดงโดยใช้เครื่องมือทั้งสองชนิดมีผลต่อผลผลิตหอมแดงอย่างไม่แตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกัน
|