ในรอบ
10 ที่ผ่านมานี้เหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มในประเทศไทย มีความถี่และรุนแรงมากขึ้นเรื่อย
ๆ ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยไม่สามารถประเมินได้
สาเหตุหลักเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ตกมากเกินกว่าที่ศักยภาพของดินจะรองรับได้
เกิดน้ำไหลบ่านำเอาหน้าดินและต้นไม้ ไหลเข้าทำความเสียหาย ในขณะที่ศักยภาพของดินในการรองรับน้ำหรืออุ้มน้ำนั้น
มีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ลาดชัน
พื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ใกล้ทางน้ำไหล ปริมาณน้ำที่ไม่สามารถเก็บกักไว้ได้ในดินจำนวนมาก
ไหลลงสู่พื้นที่ราบตอนล่าง เกิดลักษณะการท่วมอย่างฉับพลัน (Flash Flood)
และท่วมพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรในที่ราบตอนล่าง สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
ศูนย์วิจัยป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงภัยและการพัฒนาระบบเตือนภัยสำหรับชุมชนมาเป็นระยะเวลา
กว่า 5 ปี โดยในระยะแรกนั้นได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ปี 2545 2547 และแนวคิดในการดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้หยุดนิ่ง นักวิจัยได้มีการพัฒนา
ปรับปรุงและต่อยอดงานวิจัยดังกล่าวเพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดเวลาและรองรับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
โดยได้พัฒนาระบบที่สามารถส่งผ่านข้อมูลระบบ GPRS และระบบดาวเทียมได้
นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาและพัฒนาดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง
จังหวัดเชียงใหม่ และให้บริการผ่านเครือข่าย www.maewang.net คณะนักวิจัยได้เริ่มดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับระบบเตือนภัยตั้งแต่ปี
2545 โดยทำการศึกษาวิจัย ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(วช.) ซึ่งการวิจัยมีการพัฒนาระบบตรวจวัดข้อมูล ระบบส่งข้อมูลจากระยะไกล
ระบบการประมวลผล และระบบของการเตือนภัย นอกจากนี้ยังได้ทำการพัฒนาและปรับปรุงระบบมาอย่างต่อเนื่องดังนี้
คือ (1) แม่วางรุ่นที่ 1 ระบบรับส่งด้วยวิทยุสื่อสาร VHF (2) แม่วางรุ่นที่
2 ระบบส่งข้อมูลโดยสัญญาณโทรศัพท์มือถือแบบAnalog (3) แม่วางรุ่นที่
3 ส่งข้อมูลด้วยระบบ GPRS และเทคโนโลยี 2-Way Communication และ (4)
แม่วางรุ่นที่ 4 ระบบส่งข้อมูล ด้วยระบบดาวเทียม ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาระบบของการควบคุมจากระยะไกลและการประมวลผลเพื่อตัดสินใจในการเตือนภัยทั้งในสถานีสนามและสถานีควบคุมหลัก
หรือเรียกว่าระบบ SCADA (Supper ) โดยทำการศึกษาวิจัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง
จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่วางซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 544 ตารางกิโลเมตร
ในอดีตพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาน้ำท่วมประจำ และทำการคัดเลือกตำแหน่งที่เพื่อติดตั้งสถานีตรวจวัดข้อมูลและเตือนภัยจำนวน
4 สถานี ประกอบด้วย สถานีขุนวาง สถานีทุ่งหลวง สถานีสบวิน และสถานีพันตน
โดยทำการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดและระบบการส่งข้อมูลจากระยะไกลประกอบด้วย
เครื่องวัดน้ำฝนแบบธรรมดา เครื่องวัดน้ำฝนแบบอัตโนมัติ เครื่องวัดอุณหภูมิ
เครื่องวัดความชื้นในดิน โดยที่สถานีใกล้ลำน้ำจะติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำอัตโนมัติด้วย
เครื่องมือและระบบเตือนภัยที่ได้ดำเนินการนี้เป็นเทคโนโลยีการตรวจวัด บันทึก และส่งข้อมูลจากระยะไกล ประกอบด้วยเครื่องมือตรวจวัด ดังนี้
1. เครื่องวัดน้ำฝนแบบธรรมดา: เป็นกระบอกวัดน้ำฝนแบบมาตรฐานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ออกแบบโดยใช้สแตนเลสเพื่อป้องกันสนิม ทำการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนทุกวัน
2. เครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ : พัฒนาเครื่องวัดน้ำฝนแบบถ้วยกระดกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วมาตรฐาน ทำการตรวจวัดน้ำฝนขนาด 0.5 มิลลิเมตรเชื่อมต่ออุปกรณ์นับและเก็บบันทึกเวลาในอุปกรณ์หน่วยความจำ (Data Logger)
3. เครื่องวัดความชื้นในดิน :เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดความชื้นในดินแบบมาตรฐานที่ออกแบบโดยใช้ Sensor แกนเหล็ก ปักไว้ในดินและส่งค่าขนาด 0-20 mV และพัฒนาโปรแกรมการสอบเทียมกับค่ามาตรฐาน TDR (Time Domain Refectometer)
4. เครื่องวัดระดับน้ำอัตโนมัติและเสาวัดระดับน้ำ : เครื่องวัดระดับน้ำอัตโนมัติและหรือ/เสาวัดระดับน้ำ ในกรณีที่มีลำน้ำไหลผ่านพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลันดินถล่ม
5. สถานีเฝ้าระวังและเตือนภัย : สถานีเฝ้าระวังและเตือนภัยน้ำท่วมและดินถล่มนั้น ได้ออกแบบเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดข้อมูล อุปกรณ์สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลและประมวลผลและอุปกรณ์สำหรับเตือนภัย โดยสัญญาณเตือนภัยนั้นออกแบบเป็นรูปแบบของสัญญาณเสียงและสัญญาณแสง 3 ระดับด้วยกัน โดยระบบการส่งข้อมูลจากระยะไกล จะใช้ระบบ GPRS
|