การพัฒนาสูตรและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวโพดหวาน
Formulation and Development of Value-Added Products From Sweet Corn.

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี2 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้พัฒนาน้ำนมข้าวโพดสูตรมาตรฐานซึ่งทำจากเนื้อข้าวโพดหวาน 28.5% น้ำ 71.5% และใส่เกลือตอนต้ม 0.15% ของน้ำหนักทั้งหมด ปรุงรสน้ำนมข้าวโพดด้วยเกลือ 0.15% และน้ำเชื่อม 7% ของน้ำหนักนมข้าวโพด สูตรนี้ได้รับการยอมรับในระดับที่ชอบปานกลางจากผู้ชิม 50 คน งาขาวพันธุ์ มก. 20 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ 100 กรัม มีแคลเซียม 1,073 มิลลิกรัม สามารถใช้เป็นแหล่งแคลเซียมธรรมชาติสำหรับการพัฒนาน้ำนมข้าวโพดแคลเซียมสูง การลวกเมล็ดงาในน้ำเดือดที่ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที 2 ครั้ง สามารถลดความขมของงาได้ โดยไม่สูญเสียปริมาณแคลเซียม น้ำนมข้าวโพดเสริมงา 5-9 % ได้รับการยอมรับในระดับที่ชอบเล็กน้อยจากผู้ชิม 50 คน จากการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมพบว่าน้ำนมข้าวโพดเสริมงา 5% มีปริมาณแคลเซียม 137.28 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 200 มิลลิลิตร ซึ่งผลิตภัณฑ์สูตรนี้ถือเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี และน้ำนมข้าวโพดเสริมงา 7-9% มีปริมาณแคลเซียม 176.8 – 197.98 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 200 มิลลิลิตร ซึ่งผลิตภัณฑ์สูตรนี้ถือเป็นเครื่องดื่มน้ำนมข้าวโพดแคลเซียมสูง


เครื่องแยกกากแยกน้ำ

การบรรจุขวด
สุรพล เช้าฉ้อง1  ไพโรจน์ หลวงพิทักษ์2  เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์3  และ บุษรินทร์ ยิ่งแจ่มศิริ2
1ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3 ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
โทร. 0 4436 1770-4