การเพาะเลี้ยงอับเรณูข้าวโพด
Anther culture in maize

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงอับเรณูข้าวโพด

  1. เก็บช่อดอกตัวผู้ (tassel) ในระยะตั้งท้องหรือประมาณ 7 วัน ก่อนช่อดอกตัวผู้โผล่พ้นใบธง ห่อด้วยกระดาษซับพรมน้ำพอชุ่ม ห่อด้วยกระดาษอลูมิเนียมฟลอยด์ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียส ในที่มืดเป็นเวลา 14 วัน
  2. นำช่อดอกตัวผู้มาตรวจดูระยะของละอองเรณู โดยแบ่งช่อดอกตัวผู้ออกเป็น 2 ส่วนคือ main branch และ side branch แล้วนำอับละอองเรณูจากแต่ละส่วนไปสุ่มคัดเลือก microspore ที่ระยะ late uninucleate หรือ early binucleate
  3. นำช่อตัวผู้ที่คัดเลือกมาทำการฟอกฆ่าเชื้อด้วยคลอรอกซ์ (Sodium Hypochlorite) 15% และ 5% ตามลำดับ โดยในแต่ละครั้งให้หยด Tween-20 จำนวน 3-4 หยด เพื่อให้ฟอกช่อได้ดีขึ้น ใช้เวลาในการฟอกแต่ละครั้งเป็นเวลา 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำกลั่นที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว 2 ครั้ง
  4. เพาะเลี้ยงอับละอองเรณูลงบนอาหาร Induction medium (IM) ใส่ผงถ่านช่วยในการดูดซับสารพิษที่ anther ปล่อยออกมา โดยเลือก anther ขนาดใหญ่ 3 anther จาก 6 anther ในหนึ่งดอก จำนวน 30 anther ต่อ petridish
  5. ทำ post-treatment โดยเก็บ petridish ที่เพาะเลี้ยงอับละอองเรณู ไว้ในภาชนะมิดชิดที่อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส ในที่มืดเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงย้ายไปเก็บที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ในที่มืดเป็นเวลา 7 วัน และย้ายไปใว้ที่ 27 องศาเซลเซียส ให้แสงจากหลอดไฟ red white และ cool white ความเข้มแสงประมาณ 3,000 ลักซ์ เป็นเวลา 14 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 7 วัน
  6. ย้ายอับละอองเรณูจากอาหาร IM ลงบนอาหาร Regeneration medium (RM) เพื่อชักนำให้เกิดการพัฒนาเป็นแคลลัส (Embryo like structure: ELS) ส่วนของยอดและรากต่อไป ทำการนับ ELS ทุกๆ 2 สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาของต้นและราก เลี้ยงไว้ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ความเข้มแสงประมาณ 3,000 ลักซ์ จากหลอดไฟ red white และ cool white เป็นเวลา 14 ชั่วโมงต่อวัน
  7. เมื่อพบต้น plantlet ย้ายลงอาหาร Growth medium (GM) ที่เติม IBA 1 มก./ล. และน้ำตาลซูโครส 25
    ก./ล. ใช้ vermiculite เป็นวัสดุค้ำจุนโดยตวง GM 45 มิลลิลิตร ใส่ในขวดที่มี vermiculite 3.3 กรัม ย้าย
    ต้นอ่อนลงในขวดในสภาพปลอดเชื้อ ขวดละ 2 ต้น ปิดฝาซึ่งเจาะรูตรงกลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร อุดรูด้วยสำลีเพื่อเพิ่มการถ่ายเทอากาศภายในขวดเพาะเลี้ยง วางขวดบนชั้นเพาะเลี้ยงเพื่อชักนำให้มีการเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์
  8. เมื่อต้นข้าวโพดเจริญพอสมควร ย้ายต้นออกมาล้าง vermiculite ออกจากรากให้หมด จากนั้นย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกที่มีส่วนผสมของ ดิน : ทราย : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงย้ายปลูกลงแปลง เพื่อดูการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมภายนอก


 

ชบา จำปาทอง และ ณัฏฐินี โปรดเมธี
สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 044-361770-4