การปรับปรุงพันธุ์พืชในสภาพธรรมชาติ ซึ่งได้แก่การปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ลักษณะต้านทานโรคหรือแมลง
หรือปรับปรุงพันธุ์ให้ได้พืชสายพันธุ์ใหม่ลักษณะอื่นๆ สามารถทำได้โดยการผสมข้ามพันธุ์
ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานหลายปีในการผลิตพืชสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งขึ้นมา
หรือไม่สามารถผสมข้ามได้สำเร็จทำให้ไม่สามารถได้สายพันธุ์พืชใหม่ๆตามที่ต้องการได้เนื่องจากเกิดการไม่ยอมรับกันของพืชที่นำมาผสมข้ามสายพันธุ์กัน
(sexual incompatibility)
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์
การใช้สารเคมี การใช้รังสีในสภาพปลอดเชื้อ การใช้เทคนิคการรวมโปรโตพลาสต์ซึ่งเป็นการรวมยีน
หรือรวมลักษณะทั้งหมดของพืชทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน และ/หรือ เทคนิคการถ่ายยีนซึ่งเป็นการนำชิ้นส่วนของยีนที่ทราบลักษณะ
หรือทราบคุณสมบัติมาทำการถ่ายเข้าไปในพืช เพื่อให้สามารถผลิตพืชชนิดใหม่ซึ่งไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติให้เกิดขึ้นมาได้โดยใช้ระยะเวลาสั้นกว่าและสามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง
sexual incompatibility ระหว่างพืชได้ โดยเทคนิคทั้งหมดที่กล่าวมานั้นต้องอาศัยความรู้และเทคนิคของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเข้ามาร่วมด้วย
งานเทคโนโลยีชีวภาพ ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีห้องปฏิบัติการทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเพาะเลี้ยงและการรวมโปรโตพลาสต์ด้วยสารเคมีและกระแสไฟฟ้า
(Electrofusion) การถ่ายยีนเข้าสู่เนื้อเยื่อพืชทั้งโดยผ่านทางเชื้อจุลินทรีย์อะโกรแบคทีเรียม
การใช้กระแสไฟฟ้า (Electroporation) และ/หรือการยิงด้วยเครื่องยิงอนุภาค
(Biolistic Gene Delivery System) ในการให้บริการงานวิจัยและบริการวิชาการต่างๆ
ในสาขาดังกล่าว ติดต่อสอบถามได้ตามที่อยู่ด้านล่าง
|