จากการศึกษาผลของแมกนีเซียมคลอไรค์ต่อกิจกรรมของเอ็นไซม์ไรบูโรสบิสฟอตเฟตคาร์บอกซิเลสในใบข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี
โดยทำการฉีดพ่นในระยะวัฒนภาค และระยะสืบพันธุ์ ที่ความเข้มข้นแตกต่างกันคือ
0,10 ,15 ,30 ppm พบว่า ในระยะวัฒนภาคแมกนีเซียมคลอไรด์สามารถกระตุ้นกิจกรรมของเอ็นไซม์ไรบูโรสบิสฟอสเฟตคาร์บอกซิเลสให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับต้นควบคลุม
โดยที่ที่ความเข้มข้น 10 ppm จะกระตุ้นให้กิจกรรมของเอ็นไซม์ไรบูโรสบิสฟอสเฟตคาร์บอกซิเลสได้สูงกว่า
15 และ 30 ppm ดังรูปที่ 1
ในระยะสืบพันธุ์
พบว่าที่ความเข้มข้น 10 ppm เท่านั้นที่สามารถกระตุ้นให้กิจกรรมของเอ็นไซม์ไรบูโรสบิสฟอสเฟตคาร์บอกซิเลสสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ดังรูป 2
เมื่อนำใบข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีมาวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาล
พบว่า ในระยะวัฒนภาคใบข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้รับแมกนีเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น
10 และ 15 ppm ไปแล้ว 5 และ 7 วันดังรูปที่ 3
ส่วนในระยะสืบพันธุ์
ที่ความเข้มข้น 10 ppm ใบข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นในวันที่
7 หลังจากได้รับสารแมกนีเซียมคลอไรด์ไปแล้วดังรูปที่ 4
สรุป
แมกนีเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 10 ppm สามารถส่งเสริมให้ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีที่ได้รับสารในระยะวัฒนภาคมีปริมาณน้ำตาลสะสมในเซลล์สูงกว่าข้าวที่ได้รับสารในระยะสืบพันธุ์
โดยมีความสัมพันธ์กับการทำงานของกิจกรรมเอ็นไซม์ไรบูโลสบิสฟอสเฟตคาร์บอกซิเลสในใบที่เพิ่มขึ้น
|