กัญชงเป็นพืชในวงศ์
Cannabidaceae ใช้ประโยชน์ด้านเส้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cannabis
sativa L var. sativa ส่วนกัญชา ใช้ประโยชน์ด้านสารเสพติดและระงับปวดมีชื่อวิทยาศาสตร์
ว่า Cannabis sativa L subsp. indica (Lam.) E. Small&Cronq (องค์การสวนพฤกษศาสตร์,
2544) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงในการจำแนกพืชทั้งสองชนิดนี้อยู่
(Hillig, 2004) กัญชงจะมีสาร ??9 tetrahydrocannabinol (THC) ต่ำกว่า
0.3% ซึ่งในทางกฎหมายสากลไม่ถือว่าเป็นพืชเสพติด (องค์การสวนพฤกษศาสตร์,
2544; (Hillig, 2004) มีการใช้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเส้นใยและการทำเยื่อกระดาษ
เช่น แคนนาดา และจีน สำหรับประเทศไทยกัญชงยังจัดเป็นพืชห้ามปลูกตามกฏหมาย
ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัย ต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณะสุข เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้วัตถุดิบด้านเส้นใยและเยื่อกระดาษเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นกัญชงอาจเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่ให้เส้นใยคุณภาพสูง มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น
ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และ เมล็ดยังมีโปรตีนและน้ำมันที่มีคุณภาพในการบริโภค
(องค์การสวนพฤกษศาสตร์, 2544)
การตรวจสอบ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ของกัญชง โดยวิธีอาร์เอพีดี
จากการนำตัวอย่างใบ
กัญชงไทย (1) กัญชงเยอรมัน (2) กัญชาไทย (3) มาสกัดดีเอ็นเอโดยวิธีของ
Agrawal และคณะ (1992) ตรวจสอบผลผลิตของอาร์เอพีดี พบไพรเมอร์ที่เหมาะสมจำนวน
11 ไพรเมอร์ และ พบความแตกต่างของ ตัวอย่างได้ 9 ไพรเมอร์ได้แก่ A2,
A6, A7, A8, A10, B4, C2, D6, D7 และแยกความแตกต่างไม่ได้ 2 ไพร์เมอร์
ได้แก่ A11, D3 โดยใช้ ดีเอ็นเอมาตรฐาน 1 Kb ladder (M) และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยโปรแกรม
NTSYS พบว่า กัญชงไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกัญชาโดยมีพันธุกรรมเหมือนกัน
61% และทั้ง 2 ชนิดมีพันธุกรรมเหมือนกับกัญชงเยอรมัน 47%
ลักษณะโครงสร้างภายในลำต้นที่สร้างเส้นใย
จากการศึกษาลักษณะกายวิภาคของเปลือกลำต้นภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่ามีการสร้างเส้นใย
(fiber) 2 ชนิดจัดเรียงแยกกันอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเซลล์ขนาดใหญ่ผนังเซลล์หนามีช่อง
lumen ขนาดใหญ่ เรียงอยู่ด้านนอกในชั้น cortex เรียกว่า blast fiber
และกลุ่มเซลล์ขนาดเล็กเรียงเป็นวงอยู่อยู่ด้านในติดกับ vascular cambium
เรียกว่า phloem fiber และระหว่าง fiber ทั้งสองชนิดยังพบเนื้อเยื่อ
parenchyma แทรกอยู่ fiber ทั้ง 2 ชนิดเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย
ส่วน fiber ในขั้นของ secondary xylem ใช้ประโยชน์ด้านเยื่อกระดาษ
คุณสมบัติทางกายภาพของเส้นใยกัญชง
กัญชงเป็นพืชที่ให้เส้นใยยาว โดยเส้นใยส่วนเปลือกต้น มีความยาวเฉลี่ย
22.0-30.2 mm มีความละเอียด 17.7 ?m (15.7 22.9) ซึ่งใกล้เคียงกับลินิน
มีความเหนียว 25.5 cN/tex (19.2-25.5) นอกจากนั้นยังมีความเงางาม ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้เส้นใยกัญชงเหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตสิ่งทอ
โดยผ้าทอกัญชงมีความสวยงามและมีราคาแพง

|