การควบคุมโรคพืชเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจัดเป็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งของการเกษตรแบบยั่งยืนหรือการเกษตรพอเพียง
ซึ่งมิได้มุ่งเน้นการผลิตให้ได้ปริมาณมากหรือคุณภาพตามมาตรฐานที่ต้องใช้สารเคมีในแนวดิ่งเป็นหลัก
แต่เป็นการนำความเป็นธรรมชาติมาปรับใช้ให้โอบเอื้อเกื้อหนุนระบบการเกษตรให้เกิดความพอดีที่เหมาะสมให้มากที่สุด
เช่น จุลินทรีย์จากธรรมชาติของคณะผู้วิจัยสามารถใช้ร่วมกับการจัดการผลิตพืชต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะผู้วิจัย
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รวบรวมศึกษาแบคทีเรียสายพันธุ์คุณภาพที่มีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการของพืชปลูกหลายแนวทาง
รวมทั้ง (1) การใช้ควบคุมโรค (ยับยั้ง/ฆ่าเชื้อโรค) (2) ส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช
(เพิ่มปุ๋ย ธาตุอาหาร และฮอร์โมน) (3) กระตุ้นให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรงและเกิดภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงพาหะนำโรค
(ชักนำให้พืชสร้างเอนไซม์หรือโปรตีนปกป้องตนเอง) เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เป็นผลสำเร็จจากการศึกษาวิจัยที่สามารถนำไปใช้ในระบบการผลิตพืชหลายชนิด
จุลินทรีย์สายพันธุ์คุณภาพ
รวม
12 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus amyloliquefaciens KPS46, Paenibacillus
pabuli SW01/4, Pseudomonas fluorescens SP007s, B. subtilis SP009s,
Serratia macescens Spt360, P. aeruginosa Spd155, B. cereus Spt245,
B. licheniformis Spd20 และ Bacillus sp. (YP04, YP28, KP96 และ KP25)
(สุดฤดี และสุพจน์, 2544; สุดฤดี และคณะ, 2548; วิลาวรรณ์ และคณะ,
2549; Ek-udomphong et al., 2002; Phirigaprasath et al., 2002; Prathuangwong
and Kasem, 2003; Prathuangwong et al., 2004)
ประโชน์และวิธีการใช้
ประโยชน์
: (1) ควบคุมโรคที่ระบบราก ใบ ลำต้น ผล ที่เกิดจากแบคทีเรีย รา และไวรัสได้กว้างขวาง
(2) ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจหลายชนิดให้เจริญเติบโตรวดเร็วอย่างสมบูรณ์แข็งแรง
(ถั่วเหลือง ข้าวโพด งา พืชตระกูลกะหล่ำ สัก กระถินเทพา หน้าวัว ทานตะวัน
เป็นต้น) (3) ชักนำและกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันตนเองหรือลดความเครียดเนื่องจากสาเหตุต่างๆทั้งโรค
ศัตรูพืช และสภาพแวดล้อม (ภาพที่ 1)
วิธีการใช้
: สามารถใช้ได้ทั้ง การคลุกเมล็ด พ่นบนพืช ใส่หรือเติมลงในดิน ใส่ลงบนส่วนขยายพันธุ์และกล้าพืช
สามารถใช้ได้ทั้งแบบเชื้อเดี่ยว (สายพันธุ์เดียวทำประโยชน์ให้พืชหลายแนวทาง)
หรือหลายสายพันธุ์ผสมร่วมกัน (ให้สามารถทำประโยชน์ได้ครบทุกแนวทาง)
และสามารถใช้ร่วมกับวิธีการจัดการศัตรูพืชอื่น (การเขตกรรม สารเคมี)
และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสารสังเคราะห์ทางการเกษตรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพที่ 1 แบคทีเรีย KPS46 (ก,ข)
ส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าจาก R. solani ของถั่วเหลือง
(ค, ฉ) เปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้เชื้อแบคทีเรีย (ง,จ) และกระตุ้นภูมิต้านทานโรคทั้งระบบ
วิเคราะห์จากการชักนำให้เกิดกิจกรรมของเอนไซม์ 1,3 เบต้า กูลคาเนส
(ช)
การใช้แบคทีเรียร่วมกับระบบการผลิตพืช
กลุ่มพืชผัก
: P. fluorescens SP007s และ B. subtilis SP009s ลดความรุนแรงของโรคเน่าเละ
โรคขอบใบทอง โรคเน่าคอดิน และโรคใบจุด Alternaria ของกะหล่ำดอก 52.6,
75.0, 28.0 และ 79.7% เพิ่มน้ำหนักสด ความสูงต้น และความยาวใบเฉลี่ย
82.5, 21.0 และ 33.3% ตามลำดับ และให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 41.7% (วิลาวรรณ์
และคณะ, 2549; วิลาวรรณ์ และคณะ, 2550; Prathuangwong et al., 2004a;
Prathuangwong et al., 2005) ; B. amyloliquefaciens KPS46 และ P.
pabuli SW01/4 ลดความรุนแรงของโรคเน่าเละ โรคขอบใบทอง และโรคใบจุด
Alternaria ของพืชตระกูลกะหล่ำ 43.0, 52.0 และ 45.0% เพิ่มน้ำหนักสด
ความสูงต้น และความยาวใบเฉลี่ย 91.0, 45.5 และ 39.8% และให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น
30.8% (Prathuangwong et al., 2004a, Prathuangwong et al., 2006a;
Prathuangwong et al., 2006b; Prathuangwong et al., 2006c)
ข้าวโพด
: B. amyloliquefaciens KPS46, P. pabuli SW01/4, Bacillus
sp. (YP04, YP28, KP96 และ KP25) และ S. macescens Spt360 ลดความรุนแรงของโรคใบไหม้แผลเล็ก
โรคลำต้นเน่า และโรคเหี่ยวสจ๊วต 40, 50 และ 50% เพิ่มความงอก ความยาวราก
ความยาวยอด ความสูงต้นเฉลี่ย 28.2, 71.4, 55.5 และ 37.6% ตามลำดับ
(สุดฤดี และคณะ, 2547; สุดฤดี และคณะ, 2548; สุดฤดี และคณะ, 2549;
Prathuangwong et al., 2004a)
กลุ่มพืชไฮโดรโปรนิกส์/การปลูกพืชในวัสดุปลูก:
B. amyloliquefaciens KPS46 ยังคงมีประสิทธิภาพในสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีส่วนประกอบของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่างๆ
ได้นาน 14 วัน โดยจำนวนประชากรแบคทีเรียลดลงเล็กน้อยแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ
จึงมีแนวโน้มที่สามารถนำเชื้อนี้ไปปรับใช้ในระบบการผลิตพืชแบบ hydropronic
ได้ดี (โครงการวิจัยร่วมระหว่างภาควิชาโรคพืช มก. และภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
สจล.)
ถั่วเหลืองฝักสด:
(1) P. pabuli SW01/4 และ S. macescens Spt360 ลดความรุนแรงของโรคใบจุดนูน
45.3% เพิ่มน้ำหนักสด ความสูงต้น และความยาวใบเฉลี่ย 40.6, 21.0 และ
25.3% ให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 17.0% (2) B. amyloliquefaciens KPS46
และ P. pabuli SW01/4 ลดความรุนแรงของโรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรคโนส
โรคเน่าคอดิน โรคเร่งตาย โรคใบจุดนูน โรคจากไวรัส SMV และ SCLV 22.0,
39.2, 17.8, 14.8, 65.9, 38.6 และ 37.2% ตามลำดับ ให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น
17.0 42.1% (ชัยสิทธิ์ และสุดฤดี, 2548; สุพจน์ และคณะ, 2548; สุดฤดี
และคณะ, 2548ก; สุดฤดี และคณะ, 2548ข; สุดฤดี และคณะ, 2548ค; สุพจน์
และคณะ, 2549; Prathuangwong et al., 2002a; Prathuangwong et al.,
2002b; Prathuangwong and Kasem, 2003; Prathuangwong et al., 2004a;
Prathuangwong et al., 2004b; Prathuangwong et al., 2004c; Thowthampitak
et al., 2004; Prathuangwong and Buensanteai, 2006)
พืชชนิดอื่น
: (1) S. macescens Spt360 ลดความรุนแรงของโรคเน่าคอดินของสัก
79.7 % เพิ่มความงอก ความยาวราก และความสูงต้น เฉลี่ย 16.0, 31.2 และ
5.7% ให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 41.7% (2) B. amyloliquefaciens KPS46
และ P. pabuli SW01/4 ลดความรุนแรงของโรคใบจุด และลำต้นไหม้ของทานตะวัน
และโรคใบไหม้หน้าวัว 82.2, 86.1 และ 26.9% (3) B. amyloliquefaciens
KPS46 และ P. pabuli SW01/4 ลดความรุนแรงของโรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าคอดิน
โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุดนูน โรคเร่งตาย โรคไวรัส SMV และ SCLV 30.5,
32.8, 35.0, 70.0, 35.9, 33.0, 27.0, และ 54.0 % เพิ่มน้ำหนักสด ความสูงต้น
และความยาวใบเฉลี่ย 62.5, 24.0 และ 24.3% และให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น
35.8 - 86.7% (สุดฤดี และสุพจน์, 2544; สุพจน์ และคณะ, 2549; นงนุช,
2546; วาสนา, 2547; ชัยสิทธิ์, 2548; พีรพร, 2548;ชัยสิทธิ์ และสุดฤดี,
2548; Ek-udomphong et al., 2002; Prathuangwong et al., 2002a; Prathuangwong
et al., 2002b; Prathuangwong and Kasem, 2003; Prathuangwong et al.,
2004a; Prathuangwong et al., 2004b; Prathuangwong et al., 2004c;
Thowthampitak et al., 2004; Prathuangwong and Buensanteai, 2006)
ภาพที่ 2 เทคโนโลยีเชื้อแบคทีเรียมีประโยชน์ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง
ภายใต้โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มก.
รหัส สข.(กษ) 3-4-47
|