การวิจัยและพัฒนาสบู่ดำเพื่อพลังงานทดแทนแบบบูรณาการและยั่งยืน
(ภาษอังกฤษ) Research and Development on Jatropha curcas L.
for Renewable Energy and their Possible Uses for Sustainable Economic

           คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินงานศึกษาและวิจัยการพัฒนาสบู่ดำเพื่อพลังงานทดแทนแบบบูรณาการและยั่งยืนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเป็นน้ำมันไบโอดีเซล รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้อื่น ๆ จากสบู่ดำ ซึ่งมีผลสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วนั้น ได้มีการดำเนินการเปิดเป็น “โรงเรียนสบู่ดำ” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งศูนย์กลางและรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสบู่ดำ เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจที่จะปลูกสบู่ดำได้เข้ามาหาความรู้ และเรียนรู้ให้ถ่องแท้และครบวงจรก่อนที่จะได้นำไปปฏิบัติจริงในชุมชนของตนเองต่อไป โดยงานวิจัยต่าง ๆ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาสบู่ดำเพื่อพลังงานทดแทนแบบบูรณาการและยั่งยืนประกอบด้วยงานวิจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ด้านการเขตกรรมและการดูแลรักษา

1. ศึกษาระยะปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสมในการปลูกสบู่ดำ
2. ศึกษาสรีระวิทยาของดอกสบู่ดำ เพื่อเปลี่ยนแปลงเพศดอกและทำให้สบู่ดำสุกแก่พร้อมกัน
3. การศึกษาสรีระวิทยาและศักยภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซของสบู่ดำในสภาพแวดล้อมต่างๆ
4. ศึกษารูปแบบการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมในสบู่ดำ
5. ศึกษาการตัดแต่งกิ่งทุกสัปดาห์เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง
6. ศึกษาการตัดแต่งกิ่งแบบต้นเว้นต้น เพื่อหาระยะปลูก การเจริญเติบโต และผลผลิตที่เหมาะสมในสบู่ดำ
7. ศึกษาปริมาณ การใช้น้ำ และช่วงเวลาการให้น้ำของสบู่ดำที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต
8. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการวัชพืช กับองค์ประกอบผลผลิตของสบู่ดำ

         ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของสบู่ดำ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้ที่สนใจนำไปทดลองและปฏิบัติจริงต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย

1. นวัตกรรม เทคโนโลยี พร้อมถ่ายทอด จำนวนไม่น้อยกว่า 10 เรื่องต่อปี
2. ผลิตบุคลากรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสบู่ดำ
3. ผู้ผ่านการอบรม จำนวน 500 คนต่อปี สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริงได้
4. เกษตรกรประหยัดรายจ่ายจากการใช้น้ำมันดีเซล เพื่อการเกษตร
5. ได้ต้นแบบการผลิตและการใช้ประโยชน์จากสบู่ดำแบบครบวงจร
6. ได้พันธุ์สบู่ดำที่มีศักยภาพสูงในสภาพพื้นที่เฉพาะ
7. ได้ต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างพอเพียงและยั่งยืน

 

สมบัติ ชิณะวงศ์ สมิต ยิ้มมงคล พรศิริ หลีวานิช และ คัทลียา ฉัตรเที่ยง
คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร. 034-281-082 โทรสาร 034-281-082