การศึกษาการปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3, สุราษฎร์ธานีและประจวบคีรีขันธ์ในแปลงมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้และลำไยพันธุ์อีดอ
วางแผนการทดลองแบบ Split plot design จำนวน 4 ซ้ำ โดยปัจจัย A เป็นพันธุ์หญ้าแฝก
3 พันธุ์ ปัจจัย B เป็นวิธีการปลูกแบบครึ่งวงกลม และเป็นแถวตรงข้างชายพุ่ม
ระหว่างเดือนตุลาคม 2547 ตุลาคม 2548 ณ.สถานีวิจัยปากช่อง อ. ปากช่อง
จ. นครราชสีมา พบว่า ความสูงเฉลี่ยของต้นมะม่วงและลำไยพันธุ์อีดอ ในเดือนที่
8 มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ความกว้างทรงพุ่ม และเส้นรอบวงของลำต้นเหนือพื้นดิน
10 เซนติเมตร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ จากการตัดต้นและใบหญ้าแฝก
หลังจากปลูกเดือนที่ 6 เดือนที่ 11 พบว่าหญ้าแฝกพันธุ์สุราษฎร์ธานี
ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งรวมมากที่สุด เมื่อปลูกแบบครึ่งวงกลมในแปลงมะม่วงน้ำดอกไม้และลำไยพันธุ์อีดอ
โดยมีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเป็น 62.27 และ28.94 กิโลกรัมในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
52.62 และ21.80 กิโลกรัมในแปลงลำไยพันธุ์อีดอ หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3
ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง น้อยที่สุด 16.58 และ 8.36 กิโลกรัมในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
และ 17.88, 5.93 เมื่อปลูกแบบแถวตรง ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีค่าใกล้เคียงกันเมื่อเริ่มปลูกโดยมีค่า
pH 6.8-7.2 อินทรียวัตถุ 2.1 2.3 % ฟอสฟอรัส 51-58 ppm โพแทสเซียม
370-460 ppm
|