สบู่ดำพืชพลังงานทดแทน
Physic Nut” for Energy Substitution.


        สบู่ดำเป็นพืชที่คนไทยรู้จักมานานแล้ว สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้โดยไม่ต้องเติมสารอะไรหรือปรับแต่งเครื่องยนต์ ใช้ได้ดีกับเครื่องจักรกลการ เกษตรที่เป็นเครื่องยนต์รอบต่ำ เช่น รถไถนา เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟ โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ (เกสร, 2545) แต่ผลผลิตยังต่ำเพียง 100 ถึง 300 กิโลกรัมต่อไร่ (ระพีพันธุ์ และ สุขสันต์, ไม่ระบุปีเผยแพร่) การพัฒนาการปลูกสบู่ดำเพื่อการเพิ่มผลผลิต ในทางหนึ่งคือการทดลองใช้ฮอร์โมนพืชบางชนิด เช่น จิบเบอเรลลิน (gibberellin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติในการควบคุมการยืดตัวของเซลล์ การติดผล และการเพิ่มขนาดของผล อีกแนวทางหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตคือการใช้สารคอลชิซิน (colchicine) เพื่อการพัฒนาพันธุ์เพื่อให้เกิดพันธุ์ใหม่ที่ให้ขนาดของผล และเมล็ดมีขนาดใหญ่ขึ้นได้จากการเพิ่มโครโมโซมจาก2n (diploid) เป็น 4n (tetraploid)

        ผลการศึกษาการใช้สารคอลชิซินที่ระดับความเข้มข้น 0.5% สามารถกระตุ้นให้ตาของสบู่ดำพันธุ์ FF20 Sbr-3 มีขนาดของความยาวปากใบเพิ่มขึ้นมากกว่าต้นที่ไม่ได้รับสารคอลชิซินซึ่งเป็นการพิสูจน์เบื้องต้นของการกลายพันธุ์เป็น 4n ทำให้เชื่อว่าการทดลองได้ต้นสบู่ดำที่กลายพันธุ์แล้ว โดยมีขนาด ช่อดอก ดอกที่ใหญ่ขึ้น ผลมีลักษณะต่างจากต้นปกติ ซึ่งจะได้ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตต่อไป

        และการทดลองใช้สารจิบเบอเรลลิก แอซิด (GA3) 50-150 ppm ในระยะเริ่มติดผลสามารถเพิ่มขนาดของผลและเมล็ดสบู่ดำได้


ขนาดที่แตกต่างกันของช่อดอกสบู่ดำ
2n และ 4n


เปรียบเทียบขนาดของดอกสบู่ดำ
ต้น 2n (ซ้าย) และ 4n (ขว
า)


ขนาดของผลสบู่ดำต้น 2n ผลทางซ้ายและขวา
ผลของต้น 4n ตรงกลาง


ขนาดของผลและเมล็ดสบู่ดำที่ไม่ได้รับ GA3 สองผลทางซ้าย
และได้รับ GA3 100 ppm สองผลทางขวา

โรจน์รวี ภิรมย์1  และ นิรันดร์ จันทวงศ์ 2
1ศูนย์วิจัยระบบนิเวศเกษตร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.02-579-5556

2
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-940-5626