นำเนื้อเยื่อตายอด ตาข้าง และเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของต้นสบู่ดำ
เช่น ใบอ่อน ก้านใบ และ hypocotyls จากต้นสบู่ดำสายพันธุ์ FBR2-2 (ต้นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาจากการฉายรังสีแกมมาด้วยความอนุเคราะห์จาก
ผศ.สนั่น ขำเลิศ) และสายพันธุ์ A16, A20 และ A21 (ด้วยความอนุเคราะห์จากคุณแอนนา
สายมณีรัตน์ สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์) มาฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายคลอร็อกซ์
และทำการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ในอาหารแข็งสูตร MS ซึ่งเติมฮอร์โมน
เช่น kinetin, BA, NAA, 2,4-D, IBA, thidiazuron, putrescine, picloram
ที่ความเข้มข้นต่างๆ ผลปรากฏว่าเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของต้นสบู่ดำที่นำมาใช้การทดลอง
มีการตอบสนองต่ออาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
เนื้อเยื่อส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาเป็นแคลลัสได้ง่าย แคลลัสที่มีลักษณะดีเป็นแคลลัสที่เลี้ยงในอาหารสูตรที่เติม
thidiazuron ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.01-1 มก.ต่อลิตร เป็นชนิดเอ็มบริโอจีนิคแคลลัส
(embryogenic callus) ซึ่งจะพัฒนาเป็นต้นจำนวนมากต่อไปได้ (ภาพที่1,
2) นอกจากนี้ยังพบว่าชิ้นส่วนของใบอ่อนที่นำมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร
MS ที่เติม thidiazuron ความเข้มข้น 0.1 มก.ต่อลิตร ร่วมกับ proline
ความเข้มข้น 300-500 มก.ต่อลิตร หรือ casein hydrolysate ความเข้มข้น
500 มก.ต่อลิตร มีการพัฒนาเป็นยอดจำนวนมากได้โดยไม่ผ่านขบวนการเกิดแคลลัส
(direct shoots) (ภาพที่3) ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณต้นได้อีกมากมายเมื่อย้ายลงอาหารสูตรที่เหมาะสมต่อไป
(ภาพที่4)
ภาพที่1
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อชิ้นส่วนต่างๆ ของต้นสบู่ดำในอาหารแข็งสูตร
MS ซึ่งเติม thidiazuron ความเข้มข้น 0.1-1 มก.ต่อลิตร ดังนี้
- (1) ตาข้างที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่มี thidiazuron ความเข้มข้น
0.01 มก.ต่อลิตร มีการพัฒนาเป็นยอด
และแคลลัส (NE)
- (2) multiple shoots (S) จากการเพาะเลี้ยงตาข้างสบู่ดำในอาหารที่มี
thidiazuron
ความเข้มข้น 0.1 มก.ต่อลิตร
- (3, 4) การเกิด direct shoots (DS) จากการเพาะเลี้ยงใบอ่อน และต้นอ่อนของสบู่ดำในอาหารที่มี
thidiazuron ความเข้มข้น 0.1 มก.ต่อลิตร กับ proline ความเข้มข้น
300-500 มก.ต่อลิตร หรือ casein hydrolysate ความเข้มข้น 500 มก.ต่อลิตร
|