คุณภาพเมล็ดพันธุ์ ขณะปรับเปลี่ยนปัจจัยการผลิตและระบบนิเวศน์สู่เกษตรอินทรีย์
Seed quality during transition period to organic farm

         ในภาพรวมของพื้นที่ทั้งหมด 10 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกไป4 ไร่ ปลูกแนวกันลมล้อมรอบพื้นที่ด้วยทองหลาง และต้นกล้วย มีถนนโดยรอบภายในตามแนวกันลม และระหว่างแปลงทดลอง บางส่วนปลูกไม้ผล อีกส่วนเป็นอาคารโรงเรือนเพาะชำ อาคารเก็บรวบรวมผลผลิต ที่เหลือเป็นพื้นที่ใช้สอย 6 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นแปลงทดลอง จำนวน 24 แปลง ขนาดแปลงละ ? ไร่ และได้ปลูกพริกเป็นพืชทดลองหลัก จำนวน 4 ซ้ำการทดลองๆละ ? ไร่ มีการปลูกพืชหมุนเวียน และของพืชผักชนิดต่างๆพืชหลักได้แก่ ถั่วฝักยาว ข้าวโพดหวาน แตงกวา กระเจี๊ยบ หน่อไม้ฝรั่ง ผักกวางตุ้ง มะระ นอกจากนั้นได้ปลูกตระไคร้ รอบๆ แปลงพริก และปรับเปลี่ยนระบบนิเวศน์โดยการปล่อยแมลงตัวห้ำ-ตัวเบียน เช่น แมลงช้างปกใส พบว่าต้นพริกไม่มีความเสียหายจากแมลงเข้ามาทำลาย เนื่องจากแมลงตัวห้ำ สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ซึ่งดูดน้ำเลี้ยงจากใบทำให้พริกใบหงิก และในฤดูปลูกที่ 2 แมลงช้างปีกใสได้ขยายปริมาณเพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ ปัญหาโรคใบหงิกลดลง อีกทั้งสาเหตุจากเชื่อไวรัสที่มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะลดลงเพราะแมลงช้างปีกใสทำลายแมลงหวี่ขาวได้ และได้ใช้เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาทดแทนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค ในระยะต้นกล้าและที่โคนต้นพริกไม่พบการเข้าทำลายของโรคพืชแต่อย่างใด นอกจากนี้ได้ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นที่ใบพริก และโคนต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ปรับปรุงดินด้วยการไถกลบเศษซากพืชและปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยคอกผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาในหลุมปลูกอัตราส่วน 2 ตันต่อไร่ โดยแบ่งใส่ทุก 2 สัปดาห์ ตลอดจนเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้าย และทำการทดสอบความอุดมสมบูรณ์ของดิน พบว่าอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย และการเปอร์เซ็นการเป็นโรคลดลงแต่ยังอยู่ในระดับต่ำทำให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพต่ำกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูงเมื่อคัดเมล็ดลีบทิ้งไปและนำเมล็ดดีมาทดสอบความงอก พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำกว่าเมล็ดที่ได้จากการปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี 12 % ดังนั้นต้องการเวลาปรับปรุงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินต่อไปเรื่อยๆ อีกหลายฤดูกาลปลูก จนสมบูรณ์ดีแล้ว จึงสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์จากการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง และมีผลผลิตดี ขณะเตรียมปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงควรผลิตเมล็ดพันธุ์ที่สามารถใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณจำกัด เช่น ในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ แล้วจึงนำเมล็ดที่ได้มาเตรียมโดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ สำหรับปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ ขณะนี้ได้ดำเนินการทดลองอย่างต่อเนื่อง และเป็นปีที่ 3 ของการทดลอง

 

 

ภาณี ทองพำนัก1 วิวัฒน์ เสือสะอาด2 จิระเดช แจ่มสว่าง3 วุฒิชัย ทองดอนแอ1 ธนาพร ขยันงาน ประเทือง ดอนสมไพร1 จตุพร จิตรบุญถนอม1 เนตรชนก นุ้ยสีรุ่ง1 สมใจ กล่ำทอง1 และกัลยา พูลทรัพย์1
1ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
2ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
3ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน
โทร 3658, 034-351399 ต่อ 444, 081-4512908