แก้วเจ้าจอม
ชื่อสามัญ Lignum Vitae ชื่อวิทยาศาสตร์ Guaiacum Officinale Linn
เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ ZYGOPHYLLACEAE เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย
เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 5) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินเดีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา
ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ
2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช
พ.ศ. 2525 กรมส่งเสริมการเกษตร ศาสตาจารย์เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชียวชาญด้านพฤษศาสตร์
เป็นผู้ตั้งชื่ต้นไม้ชนิดนี้ว่า แก้วเจ้าจอม หรือ น้ำอบฝรั่ง
และนอกจากนี้ยังมีชนิดใบประกอบ 3 คู่ ซึ่งเป็นไม้พุ่มสวย มีลักษณะ
ใบประกอบ 3 คู่ปลูกไว้ ณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ปัจจุบันต้นไม้ต้นนี้มีอายุ
26 ปี
ลำต้น
: เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 3 12 เมตร มีลักษณะคดงอ เนื้อไม้แข็งมาก
กิ่งก้านมีปุ่มปม เปลือกของต้นสีเทาเข้ม บางแห่งเปลือกแตก ต้นแตกใบเป็นพุ่มแผ่กว้างทรงกลม
เรือนยอดทึบ
ใบ
: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีใบย่อย 2-3 คู่ และ 4 - 5 คู่
ใบประกอบยาว 1 1.5 เซนติเมตร ก้านประกอบยาว 0.5 1.0เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบมีจุดเล็กๆสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน
รูปไข่กลับ หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อยมี 4 ชนิด คือใบย่อย 2 คู่ , 3
คู่ , 4 คู่ และใบย่อย 5 คู่ ปลายใบมน ขอบเรียบ ใบย่อยคู่ปลายสุดมีขนาดใหญ่
ใบย่อยคู่ถัดลงมาเล็กไล่ขนาดลงไป เนื้อใบเหนียวและหนาเล็กน้อย ผิวของใบเป็นมันสีใบเขียวเข้ม
ดอก
: สีฟ้าอมม่วง ดอกเดี่ยวออกเป็นกระจุก ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ
มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้สีเหลืองประมาณ 8 10 เส้น ดอกแก่จะมีสีจางลงเมื่อใกล้โรยประมาณ
3 5 วัน มีกลิ่นหอม
ผล
: สีเหลือง รูปหัวใจกลับ มี 4 5 พู แต่ละพูมี 1 2
เมล็ด
: มีลักษณะรูปร่างกลมรี หรือรูปไข่ สีน้ำตาลเข้ม
ออกดอก
: เดือนสิงหาคม ตุลาคม และเดือนธันวาคม เมษายน
การขยายพันธุ์
: เมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ
สถานที่เหมาะสม
สภาพอากาศที่เหมาะสม คือ ร้อนชื้น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20
30 องศาเซลเซียส ปริมาณระดับน้ำทะเล 1,200 1,800 มิลลิเมตร มีฝนกระจายเป็นเวลาหลายเดือน
และมีแสงแดดอย่างเพียงพอตลอดปี สภาพดินร่วนโปร่ง มีการระบายน้ำดี ทนต่อสภาพดินเค็ม
ประโยชน์
- พุ่มสวยเหมาะปลูกเป็นไม้ประดับสนามกว้างๆ ให้ร่มเงา
- เป็นเนื้อไม้ที่หนักที่สุดในโลก และแข็งมาก เป็นมัน คุณสมบัติเนื้อไม้มีลักษณะเป็นเส้นประสานกันแน่น
และหนักมาก ไม้ชนิดนี้จมน้ำ ทนต่อแรงอัด และน้ำเค็ม จึงนิยมนำใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเล
ทำสิ่ว และนำมากลึงทำของใช้ต่างๆ เช่น ทำลูกโบว์ลิ่ง ทำรอก เป็นต้น
- ใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของลำต้น โดยเฉพาะยางจากเนื้อไม้ในธรรมชาติ
มีสีน้ำตาลอมเขียว ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดในปริมาณค่อนข้างสูง
ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรค
สรรพคุณการใช้เป็นยาสมุนไพร
ใช้เป็นยาสมุนไพรกันอย่างกว้างขวาง
รักษาโรครูมาติซัมเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน โรคหอบหืด
โรคเบาหวาน โรคเกาต์ ใช้เป็นยาตรวจคราบเลือดในนิติเวชวิทยา เรียกว่า
Gum Guaiacum แถบอเมริกาใต้ อินเดีย อินเดียตะวันตก และฟรอดิดา ฯลฯ
นอกจากนี้มีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆเฉพาะส่วนดังนี้ ยางไม้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ
ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ หรือทำเป็นยาอมแก้หลอดลมอักเสบ
น้ำคั้นจากใบ กินแก้อาการท้องเฟ้อ เปลือก เป็นยาระบาย ผงชาจากดอก เป็นยาบำรุงกำลัง
|