เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่งทางด้านการเกษตร
ขยายพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ต่อเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจะเห็นเส้นใยสีขาวและสร้างสปอร์สีเขียว
สามารถพบได้ทั่วไปในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอินทรียวัตถุสูง โดยใช้เศษซากพืชที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร
ไม่เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืช
คุณประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถนำมาใช้ ควบคุม ทำลาย หรือ
ยับยั้ง เชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชที่ก่อให้เกิดอาการโรครากเน่าโคนเน่ากับพืช
ทั้งในพืชผัก พืชไร่ และไม้ผล เช่น
เชื้อราเมล็ดผักกาด (Sclerotium rolfsii) เชื้อราพิเทียม
(Pythium sp.)
เชื้อราฟัยทอปโทรา (Phytophthora sp.) เชื้อราไรซอคโทเนีย
(Rhizoctonia sp.)
เชื้อราฟูซาเรียม (Fusarium sp.)
เชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชเหล่านี้ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่รอดในดินเป็นระยะเวลานาน
สามารถเข้าลายระบบรากพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชทำให้พืชแสดงอาการรากเน่าและโคนเน่า
ต้นที่แสดงอาการ รุนแรงจะเหี่ยวแห้งและตายยืนต้นไปในที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราสาเหตุโรคและช่วงระยะการเจริญของพืชเป็นสำคัญ
เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถแข่งขันในการหาแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโตได้ดีและรวดเร็วกว่า
สามารถทำลายสปอร์และเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคทำให้ไม่สามารถเจริญได้ตามปกติ
ช่วยลด ความเสียหายของโรคที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีข้อดีที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเพิ่มปริมาณต่อไปได้
และมีชีวิตอยู่ในดินในระยะเวลานานในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดีหรือมีอินทรียวัตถุสูง
งานวินิจฉัยและกักกันศัตรูพืช
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน
ได้ศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ ทางการเกษตร ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูก
นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อราในดินสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าในพืช
และได้นำผลงานวิจัยออกเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต โดยใช้ ปลายข้าว
เป็นวัสดุเพาะเลี้ยง โดยแช่ปลายข้าวในน้ำนาน 15 นาที ทำให้สะเด็ดน้ำ
เทใส่ลงในภาชนะที่ต้มน้ำเดือด ต้มนาน 5 นาที เมื่อปลายข้าวสุก ตักใส่ในตะแกรงแช่น้ำเพื่อให้ปลายข้าวเย็น
ทำให้สะเด็ดน้ำ เทใส่ในตะแกรงที่รองพื้นด้วยถุงพลาสติกและกระดาษหนังสือพิมพ์เกลี่ยให้ทั่วบาง
ๆ ไม่หนามาก ปล่อยให้เย็น โรยหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา (หัวเชื้อบริสุทธิ์)
ให้ทั่วปลายข้าวในตะแกรง ฉีดพ่นน้ำให้ความชื้น ปิดด้วยถุงหรือคลุมผ้าพลาสติก
เพื่อรักษาความชื้น บ่มนาน 4 - 5 วัน เห็นสปอร์สีเขียวขึ้นบริเวณผิวหน้า
จากนั้นเมื่อครบ 7 - 10 วัน นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกผสมกับปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์
แล้วนำไปใช้ควบคุมโรคพืชต่อไป
วิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปหัวเชื้อสด
เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชให้ได้ผลดีและความสะดวกในการใช้นั้น
ได้มีผลงานวิจัยและพัฒนารูปแบบการใช้ในรูปสูตรต่าง ๆ เช่น สูตรแห้ง
สูตรน้ำ สูตรผสมดินพร้อมปลูก และสูตรผสมปุ๋ยหมัก เป็นต้น
|