มูลโคเป็นวัสดุอินทรีย์ที่นิยมนำมาใช้เป็นปุ๋ยคอก เนื่องจากหาได้ง่ายและราคาไม่แพง
อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารพืชที่ปลดปล่อยออกมาจากมูลโคนั้นมีปริมาณแตกต่างกันขึ้นกับชนิด
อายุ สุขภาพ และการเลี้ยงโค ซึ่งโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือการเลี้ยงในคอก(โคขุน)
และการเลี้ยงแบบปล่อยในทุ่งหญ้า(โคเลี้ยงปล่อย) นอกจากนี้ยังขึ้นกับกระบวนการเปลี่ยนรูปของธาตุจากรูปอินทรีย์เป็นรูปอนินทรีย์โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์
(mineralization)ของมูลโคที่เกิดในดินด้วย
คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาปริมาณการปลดปล่อยไนโตรเจนจากมูลโคขุนและมูลโคเลี้ยงปล่อยในช่วง
8 สัปดาห์ของการหมัก และผลของชนิดของมูลโค และช่วงเวลาที่ใช้ในการหมักดินกับมูลโคก่อนปลูกพืชต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตผักกาดเขียวกวางตุ้ง
เพื่อหาชนิดของมูลโคและช่วงเวลาในการหมักที่เหมาะสมต่อการผลิตพืช มูลโคที่ใช้ในการทดลองได้จากมูลของโคอายุ
18 เดือน ที่เลี้ยงแบบขุนและเลี้ยงแบบปล่อย มาตากให้แห้ง ดินที่ใช้ทดลองเป็นดินชุดดินชุดน้ำพอง
พืชที่ใช้ทดลองคือผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมทั้งหมดของมูลโคในเทอมของ
N, P2O5 , และ K2O มีดังนี้
การศึกษาปริมาณการปลดปล่อยไนโตรเจนจากมูลโค
ทำในห้องปฏิบัติการ โดยหมักดินกับมูลโคขุน และมูลโคเลี้ยงปล่อยในปริมาณที่จะให้ไนโตรเจนทั้งหมดเท่ากับ
100 มก.N/กก. ที่ระดับความชื้นสนาม วิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ในรูปแอมโมเนียม
( NH4+-N ) และไนเทรต ( NO3--N
) ในดินหมักที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6, และ 8 สัปดาห์ ของการหมัก
ผลการทดลอง(ภาพที่
1) พบว่ามูลโคขุนปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ในปริมาณที่สูงกว่ามูลโคเลี้ยงปล่อย
และปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาของการหมักเพิ่มขึ้นจนถึงสัปดาห์ที่
4 (คิดเป็น 53.96 % และ 43.04 % ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด) จากนั้นจึงมีค่าลดลง
การศึกษาผลของชนิดของมูลโค
และช่วงเวลาที่ใช้ในการหมักดินกับมูลโคก่อนปลูกพืช ต่อการเจริญ เติบโตและผลผลิตผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ทำในโรงเรือนปลูกพืชทดลอง โดยหมักดินกับมูลโคที่ระดับความ ชื้นสนามในกระถางเป็นเวลา
0, 1, 2, และ 4 สัปดาห์ จากนั้นจึงย้ายกล้าผักลงปลูกในดินหมัก ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร
15-15-15 รองพื้น โดยใช้ไนโตรเจนในอัตราที่เท่ากัน (7.5 กก.N/ไร่)
ผลการทดลอง(ภาพที่
2) พบว่า ผักที่ได้รับอินทรีย์ไนโตรเจนจากมูลโคในอัตราที่เท่ากับอนินทรีย์ไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไม่สามารถให้การเจริญเติบโตและผลผลิตทัดเทียมกับปุ๋ยเคมีได้
มูลโคขุนให้การเจริญ เติบโตและผลผลิตผักสูงกว่ากว่ามูลโคเลี้ยงปล่อย
การหมักดินกับมูลโคก่อนปลูกพืชเป็นเวลา 4 สัปดาห์ให้การเจริญเติบโตและผลผลิตผักดีที่สุด
ภาพที่ 1 ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ ที่ปลดปล่อยออกมาจากดิน
ดินหมักมูลโคขุนและดินหมักมูลโคเลี้ยงปล่อยในรูปของ NH4+-N
และ NO3--N ที่สัปดาห์ต่างๆ ของการหมัก
ภาพที่ 2 ผลของชนิดมูลโคและช่วงเวลาของการหมัก( 0,
1, 2, 4 สัปดาห์) ก่อนปลูกพืช ต่อผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ตัวอักษรกำกับแท่งกราฟที่เหมือนกันแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
|