การพัฒนาพันธุ์พืชและวิธีการที่เหมาะสมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ดอกไม้ทับอัดแห้ง
Dried Ornamental Plant Development and Appropriate Processing Methods
for Pressed and Dried Flower Products

           ดอกไม้แห้งหมายถึง ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ ใบไม้ และผลผลิตจากพืช โดยนำมาผ่านขบวนการแปรรูป ตากแห้ง หรืออบแห้งเพื่อให้ได้ดอกไม้แห้งที่มีคุณภาพสูง การผลิตดอกไม้แห้งมีบทบาทในด้านของสิ่งแวดล้อม และต้องการ ให้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นสื่อสะท้อนให้ผู้บริโภครู้ถึงคุณค่าของการใช้ดอกไม้แห้งจากธรรมชาติไปเป็นองค์ประกอบ อุตสาหกรรมดอกไม้แห้งปัจจุบันมีความพิถีพิถันด้านการปรับปรุงคุณภาพดอกไม้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงขบวนการอบแห้งและเทคนิคต่างๆ เช่น การทำใบไม้ให้นิ่มและคงสีสันเหมือนธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างดอกไม้สดและดอกไม้แห้งได้เป็นอย่างมาก ซึ่งข้อดีอีกประการคือ ดอกไม้แห้งมีอายุการใช้งานยาวนานโดยขึ้นอยู่กับชนิดของดอกไม้และกรรมวิธีการผลิต

           ขบวนการแปรรูปอีกกรรมวิธีได้แก่ การอัดทับแห้งดอกไม้ด้วยเทคนิคไมโครเวฟ ซึ่งเป็นการรักษาความสวยงามของดอกไม้ ซึ่งระยะแรกเป็นจุดประสงค์ด้านพฤกษศาสตร์เพื่อเก็บรักษาตัวอย่างพันธุ์พืชที่ได้จากการสำรวจเพื่องานวิชาการ แต่จุดประสงค์ก็เพื่อความสวยงามและคงสีสันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งการทับดอกไม้เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากในยุโรป แต่ในประเทศญี่ปุ่นได้พยายามค้นคว้าหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพดอกไม้และใบไม้ให้คงสภาพและสีสันเหมือนธรรมชาติ

วัตถุประสงค์

  1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปวัตถุดิบดอกไม้แห้ง เพื่อให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป
  2. เพื่อพัฒนาอาชีพและเทคนิคการเกษตรของเกษตรกรในเขตพัฒนาของมูลนิธิโครงการหลวง
  3. สร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกรจากงานหัตถกรรมนอกเหนือจากการทำอาชีพหลัก
  4. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการพิทักษ์ป่า คุ้มครองต้นไม้ใหญ่ ระวังไฟป่าไม่ให้ทำลายไม้ดอกไม้ประดับแห้งจากป่า

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากดอกไม้สดเป็นดอกไม้แห้ง

  1. งานสำรวจรวบรวมพันธุ์พืชทั้งในท้องถิ่นและสั่งเข้า ทดสอบปรับปรุงพันธุ์
  2. งานส่งเสริมการผลิตเก็บเกี่ยวส่งมายังโรงงานแปรรูป
  3. งานแปรรูป ได้แก่
    3.1 การตากแห้ง
    3.2 ขั้นตอนการฟอกสี
    3.3 การย้อมสี
    3.4 การอบแห้งโดยใช้กรรมวิธีต่างๆ

ขบวนการผลิตการแปรรูปไม้ประดับแห้ง

ดอกไม้แห้งจากงานวิจัยสู่งานส่งเสริมเพื่อการส่งออก

              โครงการผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแงมีการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาวิจัย ปรับปรุงพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ รวมทั้งเทคนิคการแปรรูปซึ่งตัวอย่างผลการวิจัยได้แก่

  1. การค้นพบความหลากหลายของพันธุ์พืชพื้นเมือง หรือพืชเอกลักษณ์ไทยที่นำมาเป็นวัตถุดิบดอกไม้แห้งเช่น กระถิ่นทุ่น ช่อดาว ดอกไผ่ เฟินนาคราช ประดู่ชมพูทิพย์ เครือออน เป็นต้น
  2. มีการนำพันธุ์มาจากต่างประเทศเพื่อนำมาพัฒนาพันธุ์ให้สามารถปลูก และให้ผลผลิตดี และมีคุณสมบัติเป็นผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้งที่ดี เช่น จิบโซฟิลลา อคิลเลีย หญ้าหางกระต่าย หญ้าไข่มุก แพนซี และไวโอลา เป็นต้น
  3. ศึกษาเทคนิคการฟอกและย้อมสีเพื่อคุณภาพผลผลิตของผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้งที่ดี

 


 

ม.ล.จารุพันธ์ ทองแถม1 สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์2 และ พรเสด็จ จันทร์แช่มช้อย2
1ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2มูลนิธิโครงการหลวง
0-2579-7218, 0-2942-8639