สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย
ในปัจจุบัน
ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีสูงขึ้น อันเกิดจากการใช้พลังงานจากปิโตรเลียม
ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนเช่นกัน นอกจากนั้นแล้ว ประเทศไทยยังมีปัญหาพืชผลทางการเกษตรที่มีปริมาณไม่สม่ำเสมอ
บางครั้งขาดตลาด และบางครั้งเกิดภาวะล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ การนำพืชผลทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล
และใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทดแทน เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ
ที่รักษาเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าพลังงาน รักษาปริมาณพืชผลการเกษตรให้เกิดสมดุล
และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ในเวลาเดียวกัน
พืชพลังงานทดแทน
พืชพลังงาน
คือ การนำทรัพยากรที่ได้จากพืชมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการผลิตพลังงาน
ชีวมวล (biomass) เพราะถือได้ว่าพืชเป็นแหล่งหรือเป็นบ่อเกิดของพลังงาน
ซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเองโดยกลไกของธรรมชาติ และชีวมวลเหล่านั้นอาจจะอยู่ในรูปต่างๆ
เช่น เชื้อเพลิงแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส พืชที่ให้พลังงานได้แก่ พืชผลทางการเกษตรบางชนิด
เช่น ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ เป็นต้น
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
ในประเทศไทยได้แก่ น้ำมันพืชใช้แล้ว และน้ำมันพืชสกัดใหม่อีก 8 ชนิด
ได้แก่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสง
น้ำมันละหุ่ง น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันสบู่ดำ
ปาล์มน้ำมัน ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล (18 มกราคม
2548) วัตถุดิบหลักของไบโอดีเซล ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น
ทั้งด้านการผลิตและการตลาด คือ มีต้นทุนการผลิตและราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
นอกจากนี้ปาล์มยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในสินค้าอุปโภคและบริโภค
น้ำมันสบู่ดำ
เป็นพืชน้ำมันที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภค แต่เนื่องจากเมล็ดสบู่ดำมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง
ทำให้น้ำมันสบู่ดำมีจุดเด่น และมีศักยภาพสูงในการนำมาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับผลิตพลังงานโดยไม่ต้องเข้าไปแย่งพืชอาหาร
ดังที่มีการถกถียงกันในความคุ้มในการนำพืชอาหารมาเป็นพลังงาน เหมือนน้ำมันพืชบริโภคอื่น
กระบวนการผลิตไบโอดีเซล
ในขบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชหรือไขสัตว์
โดยการสกัดกลีเซอรอลออกด้วยแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล หรือ เอทานอล เรียกขบวนการนี้ว่า
Trans-esterification โดยมีตัวเร่งปฎิกิริยา (Catalyst) เป็น กรด,
ด่าง, NaOH, KOH หรือ เอ็นไซม์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพและส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ใช้
เพื่อให้ได้ โมโนแอลคิล เอสเตอร์ (Monoalkyl ester) หรือเมธิลเอสเตอร์
(Methyl ester) เมื่อน้ำมันพืชถูกเปลี่ยนเป็นเมธิลเอสเตอร์แล้วขนาดโมเลกุลจะลดลงเหลือ
1 ใน 3 เป็นผลทำให้ความหนืดของน้ำมันลดลงอย่างมากใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล
โครงการตามแนวพระราชดำริส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชพลังงานทดแทน
การจัดทำโครงการ
ไบโอดีเซล 60 ชุมชน เพื่อถวายในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ได้ดำเนินโครงการผลิตไบโอดีเซลชุมชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2548
ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองด้านพลังงานโดยได้คัดเลือกชุมชนต่างๆ
ที่มีศักยภาพทั้งในด้านวัตถุดิบ บุคลากร และความพร้อมด้านอื่นๆ
แนวทางการดำเนินโครงการไบโอดีเซล
60 ชุมชน เพื่อถวายในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- คัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพทั้งในด้านวัตถุ บุคลากร และความพร้อมอื่นๆ
เพื่อจัดตั้งเป็น
ชุมชนต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนใกล้เคียงต่อไป
- สนับสนุนระบบผลิตไบโอดีเซลขนาด 100 ลิตร/วัน และอุปกรณ์ต่างๆ
ให้กับชุมชน
- อบรมให้ความรู้ทางด้านเทคนิคการผลิตไบโอดีเซลให้กับชุมชน และติดตาม
สนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน โดยที่ชุมชนจะต้องจัดเตรียมสถานที่สำหรับติดตั้งระบบผลิตไบโอดีเซล
- มีบุคลากรอย่างน้อย 7 คน ร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงการฯ
- สามารถรวบรวมวัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อผลิตไบโอดีเซลอย่างน้อย 200
ลิตร/สัปดาห์
- มีความต้องการใช้น้ำมัน 100 ลิตร/วัน
|