ขนมจีนเป็นอาหารพื้นบ้านของไทยที่เป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในการบริโภคแทนข้าว
กรรมวิธีการผลิตขนมจีนจะมีน้ำทิ้งเกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ มากมาย น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีนมีค่า
BOD สูงและเน่าเสียง่าย จตุพลและคณะ (2545) ปัจจุบันโรงงานผลิตขนมจีนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นโรงงานผลิตขนมจีนจัดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งสูง
ปัจจุบันการผลิตขนมจีนมีปริมาณการผลิตมากขึ้น เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก
จึงทำให้มีปริมาณน้ำทิ้งเพิ่มมากขึ้นด้วย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการเปลี่ยนสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีนให้เป็นพลังงานในรูปของก๊าซชีวภาพและพัฒนาระบบถังหมักโดยใช้ระบบ
Two-stage Anaerobic Digestion เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและการผลิตก๊าซชีวภาพ
อีกทั้งเป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีนภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
(Two-stage Anaerobic Digestion)
- เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีน
- วิเคราะห์ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
1.
น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีน เก็บตัวอย่างจากท่อน้ำทิ้งรวมของนิคมขนมจีน
จ.ฉะเชิงเทรา
รูปที่ 1 บริเวณเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง
2.
เชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ผ่านการปรับสภาพ (acclimatization)
ตะกอนจุลินทรีย์จากบ่อบำบัดมูลสุกรของภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรุงเทพฯ
3.
ระบบถังหมัก ถังหมักที่ใช้เป็นระบบการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
(Two-stage Anaerobic Digestion) ในระดับห้องปฏิบัติการ (laboratory
scale)
รูปที่ 2 ระบบถังหมัก
วิธีการ
- การเตรียมน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีนเข้าสู่ถังหมัก
นำน้ำทิ้งที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 18 ?C มาละลายรอจนกลายเป็นน้ำและมีอุณหภูมิห้องจึงป้อนเข้าสู่ถังหมัก
- การวิเคราะห์สมบัติของน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตขนมจีน นำน้ำทิ้งมาวิเคราะห์หาค่า
BOD, COD, pH, TS, TVS, SS, VFA, TAlk, TKN และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า
BOD กับ COD ตามวิธี Standard Method for the Examination of Water
and Wastewater (Greenberg, 1992)
- การเริ่มต้นดำเนินระบบและสภาวะในการดำเนินระบบ (Start-up and
operating condition) เติมตะกอนจุลินทรีย์ลงในถังหมัก จากนั้นเติมน้ำทิ้งเข้าระบบแบบ
semi-continuous โดยมีค่า HRT เริ่มต้น15 วัน คิดเป็น OLR 1.72 g.COD/l/d
- การวิเคราะห์และเก็บข้อมูล นำน้ำทิ้งที่เข้าระบบไปวิเคราะห์หาค่า
COD, pH, TS, TVS, SS, VFA, TAlk นำข้อมูลที่ได้ มาคำนวณหาประสิทธิภาพของระบบ
บันทึกปริมาณก๊าซชีวภาพและวิเคราะห์องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ
การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำทิ้งในกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
เมื่อดำเนินระบบที่ HRT 15 10 และ 8 วัน คิดเป็นอัตราการป้อนสารอินทรีย์เท่ากับ
2.45 3.06 และ 4.45 g.COD/l/d ตามลำดับ พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดค่าซีโอดีมีค่าอยู่ระหว่าง
88.68-93.69 % ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง
73.49-87.45 % ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งระเหยทั้งหมดมีค่าอยู่ระหว่าง
85.11-94.32 % และประสิทธิภาพการกำจัดค่าของแข็งแขวนลอยมีค่าอยู่ระหว่าง
88.75-95.62 % โดยที่ HRT 15 วัน อัตราการป้อนสารอินทรีย์ 2.45 g.COD/l/d
มีประสิทธิภาพการกำจัดค่าซีโอดีสูงสุดเท่ากับ 93.69 % ปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้น
4.28 ลิตรต่อวัน มีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบเท่ากับ 64.91 % ส่วนที่
HRT 8 วัน อัตราการป้อนสารอินทรีย์ 4.45 g.COD/l/d มีประสิทธิภาพการกำจัดค่าซีโอดีสูงสุดเท่ากับ
88.68 % ปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้น 15.87 ลิตรต่อวัน
และมีก๊าซชีวภาพเกิดสูงสุดถึง 21.05 ลิตรต่อวัน มีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบเท่ากับ
67.78 % จะเห็นว่าปริมาณก๊าซชีวภาพมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ HRT ลดลง ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมโดยคิดอัตราดอกเบี้ย
10 % ต่อปี เมื่อออกแบบระบบให้ถังหมักกรดมีปริมาตร 7,000 ลิตร ถังหมักก๊าซมีปริมาตร
15,000 ลิตร จะให้ผลตอบแทนคืนทุน12.44 % ใช้เวลาคืนทุนน้อยที่สุด 1.1
ปี
รูปที่ 3 กราฟแสดงเปอร์เซ็นต์ก๊าซมีเทนที่ค่า HRT
15, 10 และ 8 วันตามลำดับ
ตะกอนจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในถังหมัก
รูปที่ 4 จุลินทรีย์ในถังหมักกรด จุลินทรีย์ในถังหมักก๊าซ
|