อาหารท้องถิ่นไทยสู่การสร้างนำซ่อมสุขภาพ

          ยังมีอาหารท้องถิ่นในแต่ละภาคของไทยหลายชนิด ที่บริโภคเฉพาะประชาชนในภูมิภาค ไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนส่วนใหญ่ ซึ่งควรจะมีการเผยแพร่ เนื่องจากผลงานวิจัยพบว่าอาหารท้องถิ่น ที่ปรุงแต่งด้วยผักพื้นบ้าน มีคุณค่าสร้างเสริมสุขภาพ (functional food) เพราะผักพื้นบ้านส่วนใหญ่มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ตัวอย่างเช่น ผักสะเม็ก ผักติ้ว กระโดนน้ำ ยอดมันปู ยอดหมุย ยอดทำมัง มะเขือเปราะ สะตอ ฝักเพกา ใบย่านาง ผักเซียงดา ผักฮ้วน ดอกสะแล ชะมวง เป็นต้น ผัก 6 ชนิดแรกนิยมกินเป็นผักสด เช่นกินกับลาบ น้ำพริก หรือควบคู่กับอาหารเพื่อลดความเผ็ด แตกต่างกันตามวัฒนธรรมการกินของแต่ละพื้นที่ และมีผักอีกหลายชนิดถูกนำมาปรุงสุกเป็นอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งพบว่าหลังการหุงต้ม ผักเหล่านี้ยังมีสารประกอบ ฟินอลิค และคงฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ ดังแสดงในตาราง อาหารท้องถิ่นเหล่านี้ เหมาะที่จะเป็นอาหารสุขภาพ หากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักและบริโภคมากขึ้นแล้ว น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายระบบปฏิรูปสุขภาพที่ให้ความสำคัญในการ “สร้างนำซ่อมสุขภาพ”


ตารางแสดงฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟินอลิคของอาหารท้องถิ่นไทย

               ที่มา: *เพลินใจ ตังคณะกุล เกศศิณี ตระกูลทิวากร พยอม อัตถวิบูลย์กุล บุญมา นิยมวิทย์ และกรุณา วงษ์กระจ่าง 2544 ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านในอาหารภาคเหนือและภาคอีสาน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                **เพลินใจ ตังคณะกุล เกศศิณี ตระกูลทิวากร จันทร์เพ็ญ แสงประกาย พยอม อัตถวิบูลย์กุล บุญมา นิยมวิทย์ และงามจิตร โล่วิทูร 2549 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านไทยสร้างสุขภาพชนิดพร้อมบริโภค สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

เพลินใจ ตังคณะกุล
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2942-8629-35