โครงการฝึกอบรมลูกพระดาบส

          มูลนิธิพระดาบส ได้ก่อตั้งขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสคนธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่า “ยังมีบุคคลผู้ด้อยโอกาสในการศึกษาอยู่จำนวนหนึ่ง หากบุคคลเหล่านี้ยังมีความยินดีสนใจใฝ่ศึกษาและมีความเพียรอย่างจริงจัง ก็น่าจะสนับสนุนช่วยเหลือให้เขาได้ดี มีโอกาสศึกษาวิชาชีพเพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างตนเอง ช่วยเหลือครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ถ้าทำได้จะเป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสังคมของประเทศได้ส่วนหนึ่ง” ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในรูปแบบการศึกษานอกระบบ ไม่เป็นเชิงพาณิชย์ กล่าวคือไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายในการศึกษาใดๆ จึงถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบัน

           โรงเรียนลูกพระดาบส เป็นโครงการหนึ่งในมูลนิธิพระดาบส ซึ่งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และเทค

หัวข้อวิชาที่จัดฝึกอบรม

  1. การแปรรูปผัก-ผลไม้
                   การแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้จาก กล้วย มะม่วง สับปะรด มะละกอ ผักกาดเขียว และหน่อไม้ โดยอาศัยหลักการถนอมอาหารด้วยการใช้น้ำตาล เช่น การกวน แช่อิ่ม และแยม การใช้เกลือ เช่นการหมักดอง รวมทั้ง การทำแห้ง
                    ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ กล้วยฉาบเนย กล้วยกวน ซอสกล้วย ซอสมะม่วง แยมมะม่วง แยมสับปะรด สับปะรดกวน ผักกาดเขียวปลีดอง และ หน่อไม้ดอง เป็นต้น
  2. การแปรรูปเนื้อสัตว์
                   ศึกษาหลักการแปรรูปเนื้อสัตว์ ประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู และการควบคุมคุณภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน เน้นการใช้เครื่องมือแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทไส้กรอกบดหยาบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กุนเชียง และไส้กรอกเปรี้ยว ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์หมัก เช่น แหนม เป็นต้น
  3. การใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตรเบื้องต้น
                   จากผลงานวิจัยการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้จากข้าวโพดฝักอ่อนของ กุลวดีและคณะ (2538) ได้มีการใช้ส่วนเปลือกและขั้วอ่อนของข้าวโพด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการแปรรูปข้าวโพดฝักอ่อน มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด สำหรับหัวข้อวิชานี้ได้ถ่ายทอด “เทคโนโลยีการผลิตตั้งฉ่ายจากเปลือกข้าวโพดฝักอ่อน” ให้แก่นักเรียนในโครงการลูกพระดาบส ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ดีในท้องถิ่นเนื่องจากกระบวนการผลิตใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อนและราคาไม่แพง ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำไปจำหน่ายหรือใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ รวมทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
  4. การแปรรูปข้าว
                   ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ นอกจากการบริโภคในในลักษณะข้าวหุงสุกแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารอื่นๆได้อีกมากมายทั้งอาหารว่างและขนม ซึ่งคณะวิทยากรได้นำผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว มาถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่นักเรียนในโครงการลูกพระดาบส ตัวอย่างเช่น ข้าวตังหน้าต่างๆ ข้าวตู ไข่มดแดง คุกกี้ข้าว และ กระยาสารท เป็นต้น
  5. การผลิตคุกกี้ระดับครัวเรือน
                   ฝึกอบรมในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เพื่อสุขภาพ โดยใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่ ข้าวกล้อง เพื่อช่วยเพิ่มใยอาหาร โปรตีน วิตามินบีและเกลือแร่ที่สำคัญต่อสุขภาพร่างกาย โดยอาศัยแนวคิดการเสริมคุณค่าให้กับอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่นิยมบริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เก็บรักษาและรับประทานได้ง่าย และสามารถผลิตจำหน่ายได้ในระดับครัวเรือน และงบประมาณการลงทุนต่ำ
  6. เกษตรเพิ่มมูลค่า
                   ศึกษาและฝึกปฏิบัติในด้านกรรมวิธีการแปรรูป การถนอมอาหาร และการบรรจุ โดยใช้แนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า มีคุณภาพที่ดี และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งมีขั้นตอนการปฏิบัติถูกต้องตามหลักสุขลักษณะที่เป็นมาตรฐาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลไม้สามรส ผลไม้บรรจุขวด ลูกชิ้นหมู และผลิตภัณฑ์เค้ก เป็นต้น
    โนโลยีในหมวดของอาหารและโภชนาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา โดยจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มเนื้อสัตว์ ผัก-ผลไม้ และ ข้าว เป็นต้น และให้นักเรียนได้สมัครเรียนในกลุ่มวิชาชีพที่เขาถนัดและสนใจที่จะนำไปประกอบอาชีพ

 

 

มัณฑนา ร่วมรักษ์ กุลวดี ตรองพาณิชย์ ชิดชม ฮิรางะ พยอม อัตถวิบูลย์กุล เย็นใจ ฐิตะฐาน สมจิต อ่อนเหม อุไร เผ่าสังข์ทอง และไพลิน ผู้พัฒน์
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2942-8629-35