คุณภาพน้ำฝนในพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวง ในลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย
The Royal Rainmaking Rainfall Quality in the Central River Basin Thailand

        การศึกษาคุณภาพน้ำฝนพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวงในลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย ตัวอย่างน้ำฝนที่เก็บรวบรวมได้จาก 3 สถานี ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2548 ถึง 24 มิถุนายน 2549 ประกอบด้วย สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี ถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรตากฟ้า และสถานีอุตุอุทกวิทยาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวนสถานีละ 35 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ตัวอย่างละ 3 ซ้ำ และได้ทำการตรวจวิเคราะห์จากห้องทดลองเพื่อหาคุณลักษณะทางเคมี (ปริมาณสารเคมีและคุณสมบัติทางเคมี) ของน้ำฝนรวม 105 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ 19 คุณสมบัติ

        จากการเก็บรวบรวมตัวอย่างน้ำฝนทั้งหมด ได้ทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำฝน ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2548 ถึง 24 มิถุนายน 2549 เป็นเวลาทั้งสิ้น 321 วัน ทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ 3 ได้มีการปฏิบัติการฝนหลวง 100 วัน จากการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำฝนในวันที่ทำฝนและวันที่ไม่ทำฝนเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มขององค์กรอนามัยโลก พบว่าโดยส่วนใหญ่น้ำฝนในวันที่ทำฝนและวันที่ไม่ทำฝนมีองค์ประกอบทางเคมีไม่เกินค่ามาตรฐานดังกล่าว ยกเว้นค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณไนเตรท ตะกั่ว แคดเมียม และแมงกานีส กล่าวคือ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของตัวอย่างน้ำฝนในวันทำฝนจากสถานีอุตุอุทกวิทยาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรตากฟ้า และตัวอย่างน้ำฝนในวันไม่ทำฝนของสถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี ปริมาณไนเตรทของตัวอย่างน้ำฝนในวันทำฝนของสถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี ปริมาณตะกั่วของตัวอย่างน้ำฝนในวันทำฝนของสถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี และสถานีอุตุอุทกวิทยาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และตัวอย่างน้ำฝนในวันไม่ทำฝนของสถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรีและสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรตากฟ้า ปริมาณแคดเมียมทั้งในวันทำฝนและไม่ทำฝนของทั้ง 3 สถานีทั้งในวันทำฝนและไม่ทำฝน ปริมาณแมงกานีสของตัวอย่างน้ำฝนในวันทำฝน ของสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรตากฟ้า ความแตกต่างของประมาณองค์ประกอบทางเคมีต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นผลกระทบจากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์อื่นๆ เพราะจากการวิเคราะห์สารฝนหลวง ไม่พบโลหะหนักเหล่านี้อยู่ในเนื้อสารฝนหลวง ดังนั้น ตะกั่ว แคดเมียม และแมงกานีสที่มีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานอาจจะเป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ชนิดต่าง ๆ อุตสาหกรรมเคลือบผิวโลหะ อุตสาหกรรมสี และอุตสาหกรรมปุ๋ยฟอตเฟต แคดเมียมที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมักจะถูกดูดซับไว้ในสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในดิน เมื่อเกิดการฝุ้งฝุ่นผงปลิวออกเป็นมลพิษในอากาศ



วีระศักดิ์ อุดมโชค 1  นิตยา เลาหะจินดา 1   วราวุธ ขันติยานันท์2  ประเสริฐ อังสุรัตน์2  ทวี กาญจนา2  อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน3
อรรณพ หอมจันทร์ 1  พงศกร จิวาภรณ์คุปต์ 1  ประหยัด นันทศีล1  พูลศิริ ชูชีพ4  กรองจิต เกษจินดา1  และ ยุพิน ซิ่งเถียรตระกูล 1
1 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
3 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5444 ต่อ 1417