ระบบการปลูกไม้ผลบนพื้นที่สูงของจังหวัดเพชรบูรณ์
System of orchard tree culture on the highland of Phetchaboon Province

        พื้นที่สูงของประเทศไทยมีพื้นที่สูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่สูงเป็นส่วนใหญ่ จะประสบปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ป่าธรรมชาติถูกทำลาย เกิดเป็นสภาพภูเขาหัวโล้น และความแห้งแล้ง การทำไร่
เลื่อนลอย การหักล้างถางพงเพื่อปลูกพืชล้มลุก ได้แก่ ขิง , กะหล่ำปลี , ข้าวโพด , ข้าวไร่ ซึ่งมีการนำสารเคมี และปุ๋ยเคมีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในผลผลิต และยังมีผลตกค้างในดินและแหล่งน้ำในธรรมชาติ และปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งนับวันจะเสื่อมโทรมลงมาก อันเนื่องมาจากการปลูกพืชล้มลุกบนพื้นที่ที่มีความลาดชัน ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย โดยที่เกษตรกรไม่ได้คำนึงถึงการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการปรับปรุงดินในแปลงผลิตของตนเอง ซึ่งพืชล้มลุกหลายชนิดที่เกษตรกรปลูกอยู่นั้น นับวันจะมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้รับกลับลดลง แต่เกษตรกรบนพื้นที่สูงของอำเภอเขาค้อ , อำเภอหล่มเก่า (บ้านทับเบิก) และอำเภอน้ำหนาว ก็ยังคงปลูกพืชล้มลุกเหล่านั้นอยู่ ซ้ำยังมีการบุกรุกของพื้นที่อุทยาน ฯ เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์โรคและแมลงศัตรูมีน้อย เมื่อทางราชการมีการปักกันแนวเขต ทำให้เกษตรกรต้องใช้พื้นที่เดิม ทำให้ต้องใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีต่าง ๆ สูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิต จากที่ คณะผู้วิจัยของทางสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ศึกษาไม้ผลเมืองหนาวหลายชนิดรวมทั้งในเรื่องของพลับมาหลายปี และทำการส่งเสริมในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือ มาจนประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี จึงเป็นสาเหตุที่ทางสถานีวิจัยเพชรบูรณ์ จะทำการส่งเสริมระบบการปลูกไม้ผลบนพื้นที่สูงเพื่อลดปัญหาการปลูกพืชล้มลุกที่มีราคาไม่แน่นอน มีการใช้สารเคมีในการผลิตที่สูงมากและจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตเนื่องจากในแปลงผลิตปัจจุบันหน้าดินถูกชะล้างพังทลายของหน้าดินไปจนหมดทำให้ดินไม่มีแร่ธาตุอาหารขาดความอุดมสมบูรณ์ผลผลิตที่ไดก็จะไม่คุ้มกับการลงทุนแต่เกษตรกรไม่รู้จะปรับเปลี่ยนวิถีชิวิตอย่างไรเนื่องจากการปลูกกะหล่ำปลี พืชผักเขตหนาวนั้น มีความชำนาญและทำการปลูกมานานการที่จะปรับเปลี่ยนอาชีพจึงเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา ในฐานะที่สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีพื้นที่แปลงทดลองอยู่ในพื้นที่ 2 อำเภอ ที่มีสภาพปัญหาดังกล่าว ทางสถานีและสถาบัน ได้ตระหนักถึงเรื่องของการส่งเสริมการปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ ที่สามารถให้ผลตอบแทนต่อหน่วยค่อนข้างสูง การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตน้อย และทำให้เกิดความยั่งยืน โดยมีป่าไม้ผล และปลูกพืชแซมต่างๆรวมทั้งมีการปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับ เพื่อช่วยชะลอการชะล้างพังทลายของดิน และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับธรรมชาติ ทางสถานีวิจัยเพชรบูรณ์ มีความพร้อมในเรื่องแปลงสาธิตมีแปลงพลับที่ให้ผลผลิตสูงโดยไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศหลายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการจำหน่ายผลสดและนำมาแปรรูป ซึ่งพลับและมะม่วงที่ปลูกบนพื้นที่สูงนั้นไม่มีปัญหาในด้านตลาดเนื่องจากมะม่วงจะเก็บเกี่ยวหลังมะม่วงพื้นราบเก็บไปหมด ส่วนพลับก็เก็บผลผลิตก่อนต่างประเทศจะมีพลับส่งเข้าไทยกว่า 2 เดือนจึงเป็นข้อได้เปรียบนอกเหนือจากการที่ได้รับประทานพลับสดๆภายในประเทศที่มีความหวานและคุณค่าทางอาหารไม่แตกต่างจากพลับนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนสตรอเบอรี่ในพื้นที่สูงของจังหวัดก็สามารถปลูกสตรอเบอรี่จำหน่ายผลสดให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัดโดยไม่ต้องนำมาจากภาคเหนือเป็นการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดและอีกพืชหนึ่งที่เป็นไม้ยืนต้นที่สามารถสร้างป่าไม้ผลบนพื้นที่สูงและสร้างรายได้ในระยะยาวได้สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องจากเมื่อมีผลผลิตจะสามารถเก็บผลมาแปรรูปเก็บไว้จำหน่ายและสร้างรายได้ตลอดปี ซึ่งทางสถานีได้พยายามจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีในเรื่องไม้ผลที่มีศักยภาพที่จะสร้างรายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้กับเกษตรกรที่อาศัยบนพื้นที่สูงอย่างต่อเนื่องและในปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จจากการนำเอาความรู้ที่ผ่านการฝึกอบรมนำไปปรับใช้และการขยายผลิตให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปัจจุบัน อำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มเก่า (บ้านทับเบิก) และอำเภอน้ำหนาวและพื้นที่ใกล้เคียง ได้ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่เกษตรกรจะได้นำผลผลิต มาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้เกษตรมีรายได้ ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ฟื้นฟูสภาพป่าไม้เศรษฐกิจ สร้างความชุ่มชื้นให้กลับมาสู่ผืนแผ่นดินอีกครั้ง

   


 

ประภาส ช่างเหล็ก
สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.081-930-0306