ฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่ก่อโรคผิวหนังในสุนัข แมว ของโลชั่นสมุนไพร KU Natural Miticide® ในห้องทดลอง
In Vitro Fungicidal Activity of Herbal Extracted Lotion,KU Natural Miticide®
on the Dermatophytes of Dogs and Cat

           เนื่องจากพบว่า โลชั่นสมุนไพรรักษาขี้เรื้อน เค ยู เนเจอรัล ไมติไซด์ (KU Natural Miticide®) ใช้ทารักษาโรคผิวหนังสุนัขที่เกิดจากเชื้อราฉวยโอกาสให้หายได้ จึงได้ทำการศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่ก่อโรคผิวหนังในสุนัข 3 ชนิด คือ ไมโครสปอรัม เคนิส (Microsporum canis), ไมโครสปอรัม จิบเซี่ยม (M. gypseum), และไตรโคไฟตัน เมนตาโกรไฟท์ (Trichophyton mentagrophyte) ที่มักก่อโรคผิวหนังในสุนัขและแมว โดยเพาะเลี้ยงเชื้อราในหลอดทดลองที่มีวุ้นมันฝรั่งผสมน้ำตาลเดกโตส (Potato dextrose agar) เข้าในตู้อบ 30oองศาเชลเชียส นาน 2 สัปดาห์ ทำการทดสอบโดยเทโลชั่นสมุนไพรจนท่วมเชื้อราแต่ละชนิดๆ ละ 10 หลอดทดลอง แช่ ท่วมเชื้อราประมาณ 10 วินาที เทออกและคว่ำหลอดทดลองปล่อยทิ้งไว้ให้โลชั่นแห้ง 90 นาที ส่วนในกลุ่มควบคุมนั้นใช้น้ำกลั่น ดูฤทธิ์การฆ่าเชื้อราโดยเขี่ยเชื้อราในแต่ละหลอดไปเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อใหม่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเขี่ยเชื้อ ไปเพาะหลังจากทิ้งไว้ให้โลชั่นแห้ง 90 นาที และครั้งที่สอง หลังจากทิ้งไว้ในตู้อบ 6 สัปดาห์พบว่า เชื้อราที่เขี่ยจากกลุ่มควบคุมมาเพาะใหม่ทั้ง 2 ครั้งนั้น เชื้อราขึ้นได้ปกติทั้ง 3 ชนิด ส่วนเชื้อราที่โดนโลชั่นสมุนไพรนั้น นํามาเพาะใหม่ทั้ง 2 ครั้งนั้น เชื้อราไม่ขึ้นทั้งหมด (ดังรูป 4b, 4f, 5b, 5f, 6b และ 6f ) แสดงว่า โลชั่นสมุนไพรรักษาขี้เรื้อน KU Natural Miticide® น่าจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่มักก่อโรคผิวหนังในสุนัข แมว ไดด้วย

                     รูป 4. แสดง การขึ้น หรือไม่ขึ้น ของเชื้อรา Microsporum canis ที่นำมาเพาะใหม่ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เพาะเชื้อราจากหลอดที่ถูกเทราดด้วยน้ำกลั่น แล้วปล่อยให้แห้ง (กลุ่มควบคุม) เชื้อขึ้นได้ปกติ (รูป 4a) ส่วนเชื้อราจากหลอดที่ถูกเทราดด้วยโลชั่นสมุนไพร KU Natural Miticide®แล้วปล่อยให้แห้ง (กลุ่มทดลอง) นำมาเพาะใหม่นั้น เชื้อราไม่ขึ้นเลย (รูป.4b) ถึงแม้จะไว้ในตู้อบนานถึง 6 สัปดาห์ เชื้อราก็ไม่ขึ้น (รูป 4d) ในขณะที่เชื้อราในหลอดกลุ่มควบคุม (รูป 4a) เจริญแก่ขึ้นเป็นปกติ (รูป 4c) เชื้อราทั้ง 2 กลุ่ม ได้ทำการเพาะใหม่ครั้งที่ 2 หลังจากทิ้งไว้ในตู้อบนาน 6 สัปดาห์ เชื้อราจากกลุ่มควบคุมยังสามารขึ้นได้ปกติ (รูป 4e) ในขณะที่เชื้อราจากกลุ่มทดลองที่ราดด้วยโลชั่นสมุนไพร นั้นเชื้อราไม่ขึ้นเลย (รูป 4f)

   

               รูป 5. แสดง การขึ้น หรือไม่ขึ้น ของเชื้อรา Microsporum gypseum ที่นำมาเพาะใหม่ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เพาะเชื้อราจากหลอดที่ถูกเทราดด้วยน้ำกลั่น แล้วปล่อยให้แห้ง (กลุ่มควบคุม) เชื้อขึ้นได้ปกติ (รูป 5a) ส่วนเชื้อราจากหลอดที่ถูกเทราดด้วยโลชั่นสมุนไพร KU Natural Miticide®แล้วปล่อยให้แห้ง (กลุ่มทดลอง) นำมาเพาะใหม่นั้น เชื้อราไม่ขึ้นเลย (รูป.5b) ถึงแม้จะไว้ในตู้อบนานถึง 6 สัปดาห์ เชื้อราก็ไม่ขึ้น (รูป 5d) ในขณะที่เชื้อราในหลอดกลุ่มควบคุม (รูป 5a) เจริญแก่ขึ้นเป็นปกติ (รูป 5c) เชื้อราทั้ง 2 กลุ่ม ได้ทำการเพาะใหม่ครั้งที่ 2 หลังจากทิ้งไว้ในตู้อบนาน 6 สัปดาห์ เชื้อราจากกลุ่มควบคุมยังสามารถขึ้นได้ปกติ (รูป 5e) แต่มีเชื้อราอื่นปนเปื้อน 1 หลอด (ลูกศรชี้) ในขณะที่เชื้อราจากกลุ่มทดลองที่ราดด้วยโลชั่นสมุนไพร นั้นเชื้อราไม่ขึ้นเลย (รูป 5f)

                  รูป 6. แสดง การขึ้น หรือไม่ขึ้น ของเชื้อรา Trichophyton mentagrophyte ที่นำมาเพาะใหม่ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เพาะเชื้อราจากหลอดที่ถูกเทราดด้วยน้ำกลั่น แล้วปล่อยให้แห้ง (กลุ่มควบคุม) เชื้อขึ้นได้ปกติ (รูป 6a) ส่วนเชื้อราจากหลอดที่ถูกเทราดด้วยโลชั่นสมุนไพร KU Natural Miticide?แล้วปล่อยให้แห้ง (กลุ่มทดลอง) นำมาเพาะใหม่นั้น เชื้อราไม่ขึ้นเลย (รูป.6b) ถึงแม้จะไว้ในตู้อบนานถึง 6 สัปดาห์ เชื้อราก็ไม่ขึ้น (รูป 6d) ในขณะที่เชื้อราในหลอดกลุ่มควบคุม (รูป 6a) เจริญแก่ขึ้นเป็นปกติ (รูป 6c) เชื้อราทั้ง 2 กลุ่ม ได้ทำการเพาะใหม่ครั้งที่ 2 หลังจากทิ้งไว้ในตู้อบนาน 6 สัปดาห์ เชื้อราจากกลุ่มควบคุมยังสามารถขึ้นได้ปกติ (รูป 6e) ในขณะที่เชื้อราจากกลุ่มทดลองที่ราดด้วยโลชั่นสมุนไพร นั้นเชื้อราไม่ขึ้นเลย (รูป 6f)

 

 

ณรงค์ จึงสมานญาติ ศรีสมัย วิริยะรัมภะ สุวรรรณา ทิพยรักษ์ ธเนศร ทิพยรักษ์ และ ทวีวัฒน์ ทัศนวัฒน์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 081-857-5711