หุ่นจำลองยางพารา: ก้าวใหม่หุ่นฝึกหัดทางการแพทย์
Para rubber model: New trend for medical practice

 

        การเรียนการสอนทางการแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ จำเป็นต้องใช้ร่างของอาจารย์ใหญ่ (ร่างมนุษย์ หรือสัตว์ทดลอง) เพื่อใช้ ในการศึกษาเปิดชำแหละศึกษาโครงสร้างมนุษย์ และหรือสัตว์โดยละเอียด เป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญก่อนที่จะศึกษาต่อในระดับคลินิกและจบไปเป็นหมอ พยาบาล จำนวนอาจารย์ใหญ่ นับวันเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น จึงมีการใช้ในจำนวนที่จำกัด สวนทางกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนบัณฑิต ทางแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ที่ต้องการมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหา ข้อจำกัดดังกล่าว หนทางอันหนึ่ง คือ การใช้สื่อการสอน หุ่นจำลองประกอบการศึกษา

        สร้างหุ่นจำลอง เต้านมสาธิต ท่อมดลูกโค หุ่นแผลกดทับ หุ่นหัวและคอสุนัข และ หุ่นแขนและมือมนุษย์ โดยดำเนินการเป็น ขั้นตอนดังนี้

    1. ปั้นต้นแบบด้วยดินน้ำมัน
    2. ทำแม่พิมพ์
    3. หล่อชิ้นงานด้วยยางพารา และระบายสีชิ้นงาน
    4. ตรวจสอบคุณภาพ

        หุ่นฝึกหัดทางการแพทย์และสัตวแพทย์ ซึ่งใช้วัสดุยางธรรมชาติ 5 ชนิด ถูกพัฒนาขึ้นและนำมาใช้ฝึกหัด ดังนี้

    • หุ่นเต้านมมนุษย์ เพื่อการฝึกหัด ตรวจหาก้อนเนื้อผิดปกติ
    • หุ่นท่อมดลูกโค เพื่อการฝึกหัดการสอดปืนผสมโคเทียม
    • หุ่นหัว คอสุนัข เพื่อการฝึกหัดการสอด Endotracheal tube
    • หุ่นแผลกดทับ เพื่อการฝึกหัดการทำแผล
    • หุ่นแขนและมือมนุษย์ เพื่อการฝึกหัดการฉีดยาเข้าหลอดเลือด
    • หุ่นทั้ง 5 ชนิด มีความนุ่ม และยืดหยุ่น สามารถใช้เป็นหุ่นเพื่อการฝึกหัดทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี

 

หุ่นท่อมดลูก เพื่อการฝึกหัดการสอดปืนผสมโคเทียม

หุ่นเต้ามนุษย์ เพื่อการฝึกหัดตรวจหาก้อนเนื้อผิดปกติ

หุ่นแผลกดทับ เพื่อการฝึดหัดทำแผล

หุ่นเพื่อการฝึกหัดเย็บแผล ตัดต่อลำใส้
  

หุ่นแขนและมือมนุษย์ เพื่อการฝึกหัด การฉีดยาเข้าหลอดเลือด

หุ่นหัวและคอสุนัข เพื่อการฝึกหัดการสอด Endotracheal Tube


อภินันท์ สุประเสริฐ1  มาลีวรรณ เหลี่ยมศิริเจริญ1  อาคม ชัยวีระวัฒนะ2  ธนพล ไหมแพง3  วนิดา วิสุทธิพานิชิ4
ธีระศักดิ์ พราพงษ์1  และ ศิริรักษ์ จันทครุ1
1 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
3 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ กระทรวงสาธารณสุข
โทร.  0-2942-8954-6, 089-772-1690