การศึกษายาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และไตรเมทโธพริม การดูดซึม และระยะปลอดในกุ้งกุลาดำ
(Penaeus monodon) โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและป้อนยา
Disposition of sulfadimethoxine and trimetoprim after intramuscular
and oral administration to tiger shrimp, Penaeus monodon

          

          ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ได้ถูกใช้รักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในสัตว์น้ำซึ่งให้ผลในการรักษาที่ดี(1) นอกจากนั้นได้มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมทโธพริม (SDM-OMP) ที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในปลาแต่ยังไม่มีรายงานการศึกษายาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และไตรเมทโธพริม (SDM-TMP)ในกุ้งเลย ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอัตราการดูดซึม และการตกค้างของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และไตรเมทโธพริม (SDM-TMP) ในเนื้อกุ้งกุลาดำ ซึ่งอัตราส่วนของยาที่ใช้คือ 5:1 โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและป้อนยา

ผลการทดลอง
          จากการศึกษาการป้อนยาในกุ้งกุลาดำ ยาซัลฟามีอัตราการดูดซึมเร็วและขับถ่ายออกจากกุ้งช้า โดยทำการเปรียบเทียบอัตราการดูดซึมจากการฉีดเข้ากล้ามพบว่ามีอัตราการดูดซึมเท่ากับ 81.4% และพบการตกค้างของยาในกล้ามเนื้อเป็นเวลา 36 วันซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา SDM-OMPในกุ้งกุลาดำ (3) ยาไตรเมทโธพริมมีค่า Cmax ที่ 30 นาทีหลังจากป้อนยาซึ่งระดับความเข้มข้นของยาคือ 0.43 มก./กก. และจะลดลงเหลือ 0.05 มก./กก. ภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งอัตราการดูดซึมของยาไตรเมทโธพริมเท่ากับ 36.50% การเพิ่มขนาดยาจาก 50 มก./กก. เป็นขนาด 100 มก./กก. ไม่ได้เพิ่มอัตราการดูดซึมของยา และที่เวลา 4 ชั่วโมงหลังจากป้อนยาอัตรส่วนระหว่างยา SDM-TMP เท่ากับ 16.7:1 ค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ ดังแสดงในตาราง

ตารางแสดงค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์จากการศึกษายาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และไตรเมทโธพริม การดูดซึม และระยะปลอดในกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและป้อนยา

 


วิจารณ์ผลการทดลอง
          จากการทดลองการป้อนยาในขนาด 50 มก./กก. พบว่ายาซัลฟาไดเมทท็อกซินมีอัตราการดูดซึมที่สูง ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองยา SDM-OMP (3) ยาไตรเมทโธพริมมีอัตราการดูดซึมน้อย และการเพิ่มเพิ่มขนาดยาเป็น 100 มก./กก. ก็ไม่ให้การดูดซึมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการใช้ไตรเมทโธพริมร่วมกับยาซัลฟาไดเมทท็อกซินจึงไม่น่าที่จะให้ผลในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในกุ้งได้ในกรณีทำการทดลองผสมยาลงในอาหาร

 

พิบูล ไชยอนันต์1,มาลินี ลิ้มโภคา2, กุลวรา แสงรุ่งเรือง3, ชัยณรงค์ สกุลแถว1 , ดลฤดี ครุฑเกิด1, บัณฑิต มังกิจ1, สุจิรา มะลิ3และ กนกวรรณ บางน้อย2
1คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการประมงอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี กรมประมง
โทร 0-2579-8574 ต่อ 306