การศึกษายาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมทโธพริม การดูดซึม ในกุ้งกุลาดำ
(Penaeus monodon) โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและป้อนยา
Disposition of sulfadimethoxine and ormetoprim after intramuscular
and oral administration to tiger shrimp,Penaeus monodon

          

          การดูดซึม การกระจายตัวในเนื้อเยื่อ และการปลอดของยาในเนื้อกุ้งกุลาดำโดยการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อและการป้อนทางปาก ซึ่งอัตราส่วนของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมธโธพริม (SDM-OMP) ที่ใช้คือ 5:1

ผลการทดลอง
          หลังจากที่ได้ป้อนยาเข้าทางปากแล้ว ยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมธโธพริม ความเข้มข้นของยาซัลฟาไดเมทท็อกซินพบมากที่สุดในกล้ามเนื้อ คือ 6.15มก./กก. ที่ 2.04 ชั่วโมง และความเข้มข้นของยาออเมธโธพริมพบมากที่สุด คือ 3.7 มก./กก. ที่ 1.0 ชั่วโมง ปริมาณยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมธโธพริม ที่ถูกดูดซึมหลังฉีดยา เท่ากับ 81.40% และ 92.40% ตามลำดับ ระดับยาในเนื้อกุ้งจะต่ำกว่า 0.01มก./กก. ภายใน 72 ชั่วโมง สำหรับยาออเมธโธพริม และ 36 วัน สำหรับยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน หลังจากให้ยา ไป 4 ชั่วโมง อัตราส่วนของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมธโธพริมในในเนื้อกุ้งมีค่าเท่ากับ 1.6:1 โดยทำการป้อนยาขนาด 50 มก./กก. สรุปดังตาราง

ตารางแสดงค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์จากการศึกษายาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และไตรเมทโธพริม การดูดซึม และระยะปลอดในกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและป้อนยา

 


วิจารณ์ผลการทดลอง

          จากการทดลองพบว่าอัตราส่วนของยาSDM-OMP (5:1) ที่ใช้ในการทดลองนี้ ไม่พบว่ายามีอัตราส่วนคงเดิมอาจเนื่องมาจากความสามารถในการดูดซึม และการขับถ่ายของยาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน อัตราการดูดซึมของยา OMP เท่ากับ87% และตกค้างเป็นเวลา 38 วันในปลา rainbow trout (2) นอกจากนั้นพบว่ายา SDM ตกค้างในกุ้ง lobster เป็นเวลา 40 วัน ซึ่งพบว่าความแตกต่างของชนิดสัตว์น้ำมีผลต่ออัตราการดูดซึม และการตกค้างของยาดังกล่าว


 

มาลินี ลิ้มโภคา1, กุลวรา แสงรุ่งเรือง3, ชัยณรงค์ สกุลแถว2, พิบูล ไชยอนันต์2, ดลฤดี ครุฑเกิด2, บัณฑิต มังกิจ2, สุจิรา มะลิ3 และ กนกวรรณ บางน้อย1 1คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการประมงอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี กรมประมง
โทร 0-2579-8574 ต่อ 8306