ตามที่ได้มีการศึกษาการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและการป้อนยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน
และไตรเมทโธพริม (SDM-TMP) ในอัตราส่วน 5:1 ในกุ้งกุลาดำ ยาไตรเมทโธพริมมีอัตราการดูดซึมน้อยหลังจากป้อนยา
ซึ่งจุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาอัตราการดูดซึมและการตกค้างของยาซัลฟาไดเมท
ท็อกซิน และไตรเมทโธพริม (SDM-TMP) โดยการผสมยาลงในอาหาร
ผลการทดลอง
ความเข้มข้นของยาตรวจพบในชั่วโมงที่
4 และ 24 ซึ่งความเข้มข้นของยาซัลฟาไดเมทท็อกซินพบในช่วง 0.5-1.90
มก./กก. 0.60-1.90 มก./กก. และ 0.80-2.0 มก./กก. และความเข้มข้นของยาไตรเมทโธพริมพบในช่วง
0.04 มก./กก. จนกระทั่งตรวจไม่พบ และ 0.04 มก./กก. จนกระทั่งตรวจไม่พบ
และ 0.07-0.19 มก./กก.ทำการศึกษาโดยผสมยาลงในอาหาร ซึ่งขนาดยาที่ใช้คือ
30 50 และ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ตามลำดับ ยาซัลฟาไดเมทท็อกซินตกค้างในเนื้อกุ้งที่ระดับต่ำกว่า
0.01 มก./กก. เป็นเวลา 28-36 วันหลังจากหยุดให้ยา ในขณะที่ยาไตรเมธโธพริมตกค้างที่ระดับต่ำกว่า
0.05 มก./กก. (LOQ) ทุกตัวอย่าง และทุกขนาดยาที่ทำการศึกษา การเพิ่มขนาดยาจาก
50 มก./กก.เป็น 100 มก./กก.ไม่ได้เพิ่มการดูดซึมของยา จนถึงระดับที่จะให้ผลในการรักษาโรค
กุ้งจะปฏิเสธการกินอาหารหลังให้ 2 วัน อัตราส่วนของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน
และไตรเมธโธพริมในช่วง 5 วันที่ทำการศึกษาโดยการให้ยาโดยผสมยาลงในอาหาร
สรุปดังตาราง
ตารางแสดงความเข้มข้นของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน
และไตรเมธโธพริมในช่วง 5 วันที่ทำการศึกษาโดยการผสมยาลงในอาหาร |
วิจารณ์ผลการทดลอง
จากผลการทดลองพบว่าการเพิ่มขนาดยาจาก
50 มก./กก.เป็น 100 มก./กก.ไม่ได้เพิ่มการดูดซึมของยาจนถึงระดับที่จะให้ผลในการรักษาโรค
กุ้งจะปฏิเสธการกินอาหารหลังให้ยาผสมอาหาร 2 วัน อัตราการดูดซึมของยาที่ขนาด
50 มก./กก. พบว่ามีระดับต่ำอาจเนื่องมาจากยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และ
ไตรเมทโธพริมละลายได้น้อยในทางเดินอาหารของกุ้ง (2) ดังนั้นระยะหยุดยาที่ควรแนะนำสำหรับยาซัลฟาไดเมทท็อกซินที่ใช้ร่วมกับไตรเมทโธพริมในกุ้งกุลดำไม่ควรน้อยกว่า
35 วัน
|