การศึกษายาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมทโธพริม การดูดซึม และระยะปลอดในกุ้งกุลาดำ
(Penaeus monodon) โดยการผสมยาลงในอาหาร
Absorption and residue depletion of sulfadimethoxine and ormetoprim in tiger shrimp, Penaeus monodon, following medicated feed treatment

          

          ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ได้ถูกใช้รักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในปลา นอกจากนั้นได้มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมทโธพริม (SDM-OMP) ที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในกุ้ง(1,2) ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอัตราการดูดซึม และการตกค้างของยาในเนื้อกุ้งกุลาดำโดยการผสมยาลงในอาหารซึ่งอัตราส่วนของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมทโธพริม (SDM-OMP) ที่ใช้คือ 5:1

ผลการทดลอง
          ความเข้มข้นของยาพบในชั่วโมงที่ 4 และ 24 ซึ่งความเข้มข้นของยาซัลฟาไดเมทท็อกซินพบในช่วง 0.5-1.46 มก./กก. และ 0.65-2.45 มก./กก. และความเข้มข้นของยาออเมทโธพริมพบในช่วง 0.16-0.88 มก./กก. และ 0.25-2.40 มก./กก. ทำการศึกษาโดยผสมยาลงในอาหาร ซึ่งขนาดยาที่ใช้คือ 30 และ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ตามลำดับ ยาซัลฟาไดเมทท็อกซินตกค้างในเนื้อกุ้งที่ระดับต่ำกว่า 0.01 มก./กก. เป็นเวลา 28-35 วันหลังจากหยุดให้ยา และยาออเมทโธพริมตกค้างที่ระดับต่ำกว่า 0.01 มก./กก.เป็นเวลา 72 ชั่วโมง อัตราส่วนของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมธโธพริมในขนาดต่ำคือ 2.5:1 และขนาดสูงคือ 1:1 ความเข้มข้นของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมธโธพริมในช่วง 5 วันที่ทำการศึกษาโดยการให้ยาโดยผสมยาลงในอาหาร สรุปดังตาราง

ตารางแสดงความเข้มข้นของยาซัลฟาไดเมทท็อกซิน และออเมทโธพริมในช่วง 5 วันที่ทำการศึกษาโดยการผสมยาลงในอาหาร

 


วิจารณ์ผลการทดลอง
          การศึกษาวิจัยยาคู่ผสมระหว่าง SDM-OMP โดยผสมยาลงในอาหารขนาด 50 มก./กก. พบว่าความเข้มข้นของยาในเนื้อกุ้งกุลาดำตรวจพบในระดับที่สอดคล้องกับรายงานการศึกษาโดยการป้อนยาในขนาดเดียวกัน การเพิ่มขนาดยาไม่ได้เพิ่มการดูดซึมของยาจนถึงระดับที่จะให้ผลในการรักษาโรคได้ (MIC คือ 5 มก./กก.) (3) ระยะหยุดยาที่ควรแนะนำสำหรับยาซัลฟาไดเมทท็อกซินในกุ้งกุลดำไม่ควรน้อยกว่า 35 วัน

กิตติกรรมประกาศ
         งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ

เอกสารอ้างอิง
         1. Burka et al. (1997) J vet Pharmacol Therap; 20:333-349
         2. Park et al. (1995) Aquaculture; 130: 113-128.
         3. Mohney et al. (1992) J Aquat Anim Health; 4: 257.

 

 

มาลินี ลิ้มโภคา1, กุลวรา แสงรุ่งเรือง3, ชัยณรงค์ สกุลแถว2, พิบูล ไชยอนันต์2, ดลฤดี ครุฑเกิด2, บัณฑิต มังกิจ2, สุจิรา มะลิ3 และ กนกวรรณ บางน้อย1
11คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการประมงอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี กรมประมง
โทร 0-2579-8574 ต่อ 306