ศึกษาสารสกัดจากพืชสมุนไพรต้านเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อย
In vitro Study of Antiviral Activity of Plant Crude-extracts against the Foot
and Mouth Disease Virus

           สารสกัดหยาบจากพืชด้วยเอทธิลแอลกอฮอล์ 95% จำนวน 46 ตัวอย่าง จากพืช 41 ชนิด ละลายในตัวละลายผสม (10% EtOH in 1% Tween 80?) ความเข้มข้น 0.2 กรัม/มล. ทดสอบหาความเข้มข้นที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไตหนูแฮมเตอร์ (BHK-21) และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยชนิดโอสายพันธุ์กำแพงแสน (FMD KPS/005/2545 type O) ของสารสกัดหยาบ โดยในขั้นต้นให้สารสกัดสมุนไพรได้สัมผัสกับเชื้อไวรัส เป็นเวลานาน 1 ชม. พบสารสกัดที่มีฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อไวรัสจากพืช 23 ชนิด ซึ่งนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ที่ 20-120 วินาที พบว่ามีสารสกัดของพืช 13 ชนิด ที่ยับยั้งเชื้อไวรัสได้ คือ สารสกัดจากผลดิบของยอป่า (Morinda Elliptica L.) ยับยั้งเชื้อไวรัสได้จำนวนมากที่สุด (1X103.58 TCID50 ด้วยความเข้มข้นของสารสกัด 0.06 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร) ส่วนสารสกัดจากผลดิบยอบ้าน (Morinda citrifolia L.) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสได้จำนวนมากรองลงมาเป็นลำดับที่ 2 (1X103.27TCID50 ด้วยความเข้มข้น 0.03 ไมโครกรัม ต่อไมโครลิตร) และสารสกัดจากวัชชพืช ผักขมหนาม (Amaranthus spinosus L.) สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้จำนวนมาก เป็นลำดับที่ 3 (1X102.34TCID5 ด้วยความเข้มข้น 0.0035 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร) สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ได้จำนวนมากเป็นลำดับที่ 4 (1X102.03 TCID5 ด้วยความเข้มข้น 0.0017 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร) ได้แก่ สารสกัดจาก ดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius L.) เหง้ากระชาย (Boesenbergia rotunda L.) ผลส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata Blanco.) และผลมะกอกน้ำ (Elaeocarpus hygrophilus Kurz) สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสได้จำนวนน้อยคือ สารสกัดจากยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta L.) หญ้าน้ำดับไฟ (Lindenbergia philippensis Benth.) ต้นดอกใบหมอน้อย (Veronia cinerea L. Less) ถั่วเซอราโตร (Phaseolus atropurpureus Moc et Ses. ex De) และโคกกระสุน (Tribulus terrestris L.). สารสกัดจากพืชเหล่านี้กำลังศึกษาพัฒนา เพื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติต่อไปโดยเฉพาะพืชที่ฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อไวรัสได้จำนวนมาก


ณรงค์ จึงสมานญาติ1  ธีระพล ศิรินฤมิตร2  วิไลรัตน์ ฉ่ำสิงห์3  และ วรวิทย์ วัชชวัลคุ2
1ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 081-857-5711