ศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน

ศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

           ผลงานและกิจกรรมที่ร่วมแสดงในนิทรรศการงานวิจัย “บนเส้นทางงานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ในงานเกษตรแฟร์ปี 2549 ระหว่างวันที่ 27 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2549 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

  1. การให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  2. การบ่มเพาะธุรกิจ โดยการสนับสนุนของสำนักงานการอุดมศึกษาและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. การดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับธนาคาร
    เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ทั่วประเทศ ประกอบด้วย 17 โครงการย่อย

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดโคนญี่ปุ่นปรับกรดในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวปิดสนิท
    ผู้วิจัย: นส. รัศมี ศุภศรี หัวหน้าโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์เห็ดโคนญี่ปุ่นดองปรับกรดในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว
    2. เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ และถ่ายทอดวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์เห็ดโคนญี่ปุ่นดองปรับกรดในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวแก่ผู้ประกอบการเป้าหมาย และให้คำแนะนำในการปรับปรุงสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP

    กลุ่มเป้าหมาย:
    บริษัทฟาร์มเห็ดบ้านสวน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ผู้ประกอบการรู้วิธีการผลิตที่ถูกต้อง
    2. ผู้ประกอบการได้รูปแบบการบรรจุแบบใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์
    3. ปรับปรุงสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามหลัก GMP

  2. การพัฒนาคุณภาพและบรรจุภัณฑ์สำหรับสมุนไพรแช่อิ่ม และลอดช่องอบแห้ง
    ผู้วิจัย: ผศ.ดร. อนุวัตร แจ้งชัด หัวหน้าโครงการ
    ดร. พิสิฎฐ์ ธรรมวิธี ผู้ร่วมโครงการ
    ดร. ไพศาล วุฒิจำนงค์ ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

     
     

    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสมุนไพร
    2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการหรือกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
    3. เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ต้นแบบสำหรับสมุนไพรและลอดช่อง

    กลุ่มเป้าหมาย:
    กลุ่มแม่บ้านเกษตรไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบและบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และสามารถเก็บรักษาได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในช่วงเวลาหนึ่ง
    2. กลุ่มเกษตรกรหรือผู้ประกอบการสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้เอง

  3. การพัฒนากรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์หน่อไม้เพื่อความปลอดภัยต่อการบริโภค
    ผู้วิจัย: นางมณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด หัวหน้าโครงการ
    นส. รัศมี ศุภศรี ผู้ร่วมโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตหน่อไม้ให้มีมูลค่าเพิ่ม
    2. เพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการบริโภค
    3. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ อย.

    กลุ่มเป้าหมาย:
    ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จ.เพชรบูรณ์, จ.เลย และ จ.ตราด

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ทำให้มีระบบกระบวนการผลิตที่ดีและควบคุมคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์หน่อไม้
    2. เป็นการยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์หน่อไม้ และทำให้ปลอดภัยต่อการบริโภค
    3. สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หน่อไม้ทำให้ลดปัญหาการเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น
    4. การใช้ผลิตผลทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
    5. มีมาตรฐาน มก.-ธกส. เรื่องผลิตภัณฑ์หน่อไม้น้ำในภาชนะบรรจุปิดสนิท

  4. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แหนมหมู
    ผู้วิจัย: นางสร้อยทอง สายหยุดทอง
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

    วัตถุประสงค์:
    1. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตแหนมหมูของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการความร่วมมือ มก.-ธ.ก.ส.
    2. ให้ความรู้ในการผลิตแหนมหมูที่ถูกต้องตามหลัก GMP แก่ผู้ประกอบการ
    3. ให้ความรู้ในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
    4. ศึกษาคุณภาพทางเคมีและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน

    กลุ่มเป้าหมาย:
    ผู้ประกอบการ จ.ฉะเชิงเทรา

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    ผู้ประกอบการแหนมหมูซึ่งเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. จะได้รับความรู้ในเรื่องการผลิตแหนมหมูที่ถูกต้อง และเข้าใจหลักการผลิตที่ดีของโรงงาน (GMP) ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

  5. การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ไข่เค็ม
    ผู้วิจัย: นส. พรทิพย์ เจริญธรรมวัฒน์ หัวหน้าโครงการ
    นาง สิริพร สธนเสาวภาคย์ ผู้ร่วมโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

     
      
     

    วัตถุประสงค์:
    เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ไข่เค็มของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.พิจิตร และ จ.นครนายก
    2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูป บ้านหนองแฝก
    3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร บ้านจอมแจ้ง จ.หนองคาย

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ไข่เค็มที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
    2. บรรจุภัณฑ์มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องเหมาะสม สามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไข่เค็มได้ดี และสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ
    3. กลุ่มผู้ผลิตที่มีความพร้อม สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ไข่เค็มที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน และนำไปสู่การขอรับรองคุณภาพมาตรฐาน มก.-ธ.ก.ส.

  6. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและบรรจุภัณฑ์หมูหวาน/หมูสวรรค์
    ผู้วิจัย: นายสมโภชน์ ใหญ่เอื่ยม หัวหน้าโครงการ
    นางอุไร เผ่าสังข์ทอง ผู้ร่วมโครงการ
    นางเย็นใจ ฐิตะฐาน ผู้ร่วมโครงการ
    นางสร้อยทอง สายหยุดทอง ผู้ร่วมโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูหวาน/หมูสวรรค์ ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก.-ธกส.
    2. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตตามหลัก GMP และ HACCP
    3. เพื่อศึกษาคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
    4. เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หมูหวาน/หมูสวรรค์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน ต.หนองนมวัว จ.นครสวรรค์ และ ต.ดือเวียง จ.พะเยาว์

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. พัฒนาและปรับปรุงสูตรหมูหวาน/หมูสวรรค์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มก.-ธ.ก.ส.
    2. พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หมูหวาน/หมูสวรรค์ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้าน GMP และ HACCP
    3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
    4. ศึกษาคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
    5. การยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่าย

  7. การพัฒนาคุณภาพและการเก็บรักษาปลาอบสมุนไพร
    ผู้วิจัย: นางมยุรี จัยวัฒน์ หัวหน้าโครงการ
    ดร. ปัทมา ระตะนะอาพร ผู้ร่วมโครงการ
    ดร. จุฑา มุกดาสนิท ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง


    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคในการผลิตและความต้องการของชุมชนเป้าหมาย
    2. เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต การบรรจุ และการเก็บรักษาด้วยวิธีการผลิตที่เหมาะสม
    3. เพื่อประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์และพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
    4. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปลาอบสมุนไพร

    กลุ่มเป้าหมาย:
    กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านร่องแก้ว จ.ประจวบคีรีขันธ์

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เหมาะสม
    2. ยกระดับคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน และปลอดภัย
    3. เพิ่มทางเลือกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพิ่มช่องทางในการเข้าสู่ตลาดอาหารพร้อมบริโภค เป็นการเพิ่มรายได้ของกลุ่มเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
    4. เป็นแหล่งวิชาการของชุมชน และเป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่นๆ

  8. การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อยกระดับคุณภาพและยืดระยะเลาในการเก็บรักษาปลาส้มฟัก
    ผู้วิจัย: ผศ.ดร. พงษ์เทพ วิไลพันธ์ หัวหน้าโครงการ
    ผศ.ดร. จิราพร รุ่งเลิศเกรียงไกร ผู้ร่วมโครงการ
    อ.ปราณิศา เชื้อโพธิ์หัก ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง

       

    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องของวัตถุดิบ การดูแลรักษาวัตถุดิบก่อนการแปรรูป สถานที่ผลิต เครื่องมือในการผลิต กระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ สุขลักษณะการผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการผลิต จากชุมชนเป้าหมาย
    2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต สูตรการผลิต รวมถึงบรรจุภัณฑ์และกระบวนการบรรจุ เพื่อกำหนดวิธีการผลิตตามมาตรฐานที่เหมาะสม
    3. เพื่อศึกษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและปรับปรุงแล้ว ทั้งด้านกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัส
    4. เพื่อศึกษาอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ และสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษา
    5. เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่า และยืดอายุให้กับผลิตภัณฑ์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเชียงงา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงวิธีการผลิต
    2. ได้วิธีการผลิตที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเหมาะสม
    3. ได้ผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคที่เพิ่มมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ที่ใกล้หมดอายุ
    4. ยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
    5. ทำให้เกิดแหล่งวิชาการของชุมชน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้นแบบแก่เกษตรกรจังหวัดอื่นๆ

  9. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและการบรรจุของผลิตภัณฑ์น้ำพริก
    ผู้วิจัย: นางชิดชม ฮิรางะ หัวหน้าโครงการ
    นางสิริพร สธนเสาวภาคย์ ผู้ร่วมโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
    นางวราภา มหากาญจนกุล ผู้ร่วมโครงการ
    นายสุขเกษม สิทธิพจน์ ผู้ร่วมโครงการ
    คณะอุตสาหกรรมเกษตร

       

    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อพัฒนาคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์น้ำพริก
    2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำพริกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้นาน และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสามารถดึงดูดและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา, อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์, อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร, อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์, อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
    2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.นครนายก
    3. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จ.ชลบุรี, จ.สุโขทัย

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ผู้ประกอบการสามารถผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
    2. ได้บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเหมาะสมทำให้สามารถยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้า และเพิ่มการจำหน่าย
    3. ได้ผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมบริโภคที่มีคุณภาพ และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น
    4. สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ
    5. ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้รับการรับรองมาตรฐาน มก.-ธ.ก.ส.

  10. การพัฒนาคุณภาพกาแฟและน้ำผลไม้
    ผู้วิจัย: นางกุลวดี ตรองพาณิชย์ หัวหน้าโครงการ
    นายสมโภชน์ ใหญ่เอื่ยม ผู้ร่วมโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


    วัตถุประสงค์:
    เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ภาชนะบรรจุ สถานที่ผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนการรับรองมาตรฐานคุณภาพโครงการ มก.-ธ.ก.ส.

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาสตรี ต.บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    2. เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    เกษตรกร/ผู้ประกอบการ สามารถพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์กาแฟและน้ำผลไม้ และสามารถได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ มก.-ธ.ก.ส. อย่างน้อย 1 ราย

  11. การพัฒนาและการถ่ายทอดการประดิษฐ์ดอกไม้
    ผู้วิจัย: รศ. สุดาวดี เหมทานนท์ หัวหน้าโครงการ
    อ.วสพร นิชรัตน์ ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร
    อ.พิณนัดดา เหมทานนท์ ผู้ร่วมโครงการ
    มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต



    วัตถุประสงค์:
    1. ศึกษาและพัฒนาคุณภาพดอกไม้ประดิษฐ์ของกลุ่มเป้าหมาย
    2. พัฒนาการย้อมสีดอกไม้ประดิษฐ์
    3. พัฒนารูปแบบของดอกไม้ประดิษฐ์
    4. ถ่ายทอดการทำดอกไม้ประดิษฐ์ให้กลุ่มเป้าหมาย
    5. เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มเกษตรกร อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
    2. กลุ่มเกษตรกร อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    3. กลุ่มเกษตรกร อำเภอเกาะดา จังหวัดลำปาง
    4. กลุ่มเกษตรกร อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
    5. กลุ่มเกษตรกร อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดตรัง

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ และรุปแบบของดอกไม้ประดิษฐ์
    2. กลุ่มเป้าหมายได้รู้วิธีการและแบบกลีบดอกไม้จริง เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ทำให้ได้แบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
    3. กลุ่มเป้าหมายได้รู้วิธีการผสมสี การย้อมสี และการแต้มสีกลีบดอกไม้ให้เหมือนจริง
    4. กลุ่มเป้าหมายสามารถทำดอกไม้ประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ ตามความต้องการได้ด้วยตนเอง
    5. เป็นการเสริมรายได้ให้กลุ่มเป้าหมาย

  12. การพัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ธกส. ในจังหวัดหนองบัวลำภูและ นครสวรรค์
    • การพัฒนาคุณภาพการย้อมสีผลิตภัณฑ์ฝ้าย
    • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายพื้นเมือง
    ผู้วิจัย: ดร. รังสิมา ชลคุป หัวหน้าโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร



    วัตถุประสงค์:

    1. เพื่อปรับปรุงวิธีการย้อมสีฝ้ายเดิมให้มีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามหลักวิชาการ
    2. เพื่อพัฒนาวิธีการย้อมสีฝ้ายใหม่ ให้มีความคงทนต่อการซัก
    3. เพื่อเสนอวิธีการผสมสีให้ได้ตามความต้องการของตลาดและการเลียนสีแบบธรรมชาติ
    4. เพื่อพัฒนาขั้นตอนการย้อมสีให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
    2. กลุ่มทอผ้าแม่บ้านเกษตรบ้านโนนงาม จ.หนองบัวลำภู
    3. กลุ่มทอผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ บ้านหนองกุงจารย์ผาง จ.หนองบัวลำภู
    4. กลุ่มทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมบ้านโนนม่วง จ.หนองบัวลำภู
    5. กลุ่มทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมบ้านซำเสี้ยว จ.หนองบัวลำภู
    6. กลุ่มทอผู้ธารสัมฤทธิ์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
    7. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. สามารถแก้ปัญหาการย้อมสีตกของเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฝ้ายที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ สามารถนำไปสู่การได้รับมาตรฐานคุณภาพ มก.-ธ.ก.ส. โดยผ่านการทดสอบการคงคนของสีต่อการซัก
    2. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรอย่างครบวงจร เพื่อให้ใช้สีเคมีที่มีคุณภาพและวิธีการย้อมที่ถูกต้อง การจัดการระบบการสั่งซื้อวัตถุดิบและสารเคมี รวมทั้งการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง
  13. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหนังและเส้นผมจากสารสกัดสมุนไพร
    ผู้วิจัย: ดร.ภิญญา ศิลาย้อย หัวหน้าโครงการ
    รศ. วิชัย หฤทัยธนาสันต์ ที่ปรึกษาโครงการ
    ดร. สาวิตรี จันทรานุรักษ์ ผู้ร่วมโครงการ
    ดร. หทัยรัตน์ รัมคีรี ผู้ร่วมโครงการ
    นส. พงษ์ศิริ วินิจฉัย ผู้ร่วมโครงการ
    คณะอุตสาหกรรมเกษตร
    นางวารุณี ธนะแพสย์ ผู้ร่วมโครงการ
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร


    วัตถุประสงค์:
    1. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานในการใช้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับเครื่องสำอางแต่ละชนิด และเพิ่มศักยภาพของบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด
    2. สร้างมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้ได้มาตรฐาน มก.-ธ.ก.ส.
    3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ ฉลากผลิตภัณฑ์ การสร้างมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแก่กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. วิสาหกิจชุมชน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
    2. วิสาหกิจชุมชน อ.เชียงคำ จ.พะเยา
    3. วิสาหกิจชุมชน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
    4. วิสาหกิจชุมชน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุทธยา
    5. วิสาหกิจชุมชน เขตคันนายาว กทม.

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. ได้แนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการสร้างมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทผิวหนังและเส้นผม
    2. กลุ่มผู้ผลิตซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ รูปแบบฉลากที่ถูกต้อง
    3. กลุ่มผู้ผลิตซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ด้านการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ และการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง


  14. การพัฒนาคุณภาพเสื่อทอกก
    ผู้วิจัย: ผศ. ธีระ วีณิน หัวหน้าโครงการ
    ผศ. ทรงกลด จารุสมบัติ ผู้ร่วมโครงการ
    ผศ. อำไพ เปี่ยมอรุณ ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์



    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เสื่อทอกกได้
    2. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการใช้ต้นกกได้อย่างคุ้มค่า
    3. ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
    4. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการผลิตเสื่อทอกกที่มีคุณภาพ ทำให้มีช่องทางการจำหน่ายได้มากขึ้น
    5. เป็นการสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มหมู่บ้านเกษตรบ้านสำราญ อ.เมือง จ.ยโสธร
    2. กลุ่มทอเสื่อกก อ.นาเรียง จ.ยโสธร
    3. กลุ่มสตรีจักสานเสื่อกก อ.นาหว้า จ.นครพนม
    4. กลุ่มทอเสื่อกก อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. กลุ่มเกษตรกรจะได้รับการอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ถูกต้องในการทอเสื่อกก
    2. เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
    3. เป็นการใช้ประโยชน์จากต้นกกอย่างคุ้มค่า
    4. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการผลิตเสื่อทอกกได้ตามมาตรฐานทำให้สามารถมีช่องทางการจำหน่ายได้มากขึ้น
    5. เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

  15. การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
    ผู้วิจัย: ผศ.ดร. ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ หัวหน้าโครงการ
    นส. สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ ผู้ร่วมโครงการ
    นส. รุ่งทิพย์ ลุยเลา ผู้ร่วมโครงการ
    นส. ชุติมา ชวลิตมณเฑียร ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร



    วัตถุประสงค์:
    1. สำรวจศักยภาพการผลิตผ้าไหมของกลุ่มผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ
    2. ประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ
    3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการเพื่อการรับรองคุณภาพ มก.-ธ.ก.ส.
    4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพผ้าไหม

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม บ้านโนนม่วง และบ้านซำเสี้ยว จ.หนวงบัวลำภู
    2. กลุ่มทอผ้าไหมหางกระรอก อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์
    3. กลุ่มเกษตรกรบ้านทุ่งจาน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    4. พัชชาดาไหมไทย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมทอมือ อ.พยัดฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
    6. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ต.กุดรัง จ.มหาสารคาม
    7. กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ประดิษฐ์ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. กลุ่มผู้ผลิตสามารถพัฒนาผ้าไหมจนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ มก.-ธ.ก.ส. อย่างน้อย จำนวน 2 ราย
    2. ได้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
    3. กลุ่มผู้ผลิตได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผ้าไหม
    4. สถานศึกษาต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลจากการวิจัยในการสอน บริการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง

  16. เทคโนโลยี และมาตรฐานการตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรมในระดับสากล
    ผู้วิจัย: นางเฟื่องฟูรัตน์ มุ่งทวีสินสุข หัวหน้าโครงการ
    นส. นิตยา ทับทิมทัย ผู้ร่วมโครงการ
    นางกรทิพย์ วัชรปัญญาวงศ์ ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อให้เกิดความรู้เรื่องเทคนิคการตัดเย็บที่สำคัญต่อโครงสร้างเสื้อผ้า
    2. เพื่อให้เกิดความคิดต่อยอดในการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพมาตรฐานการตัดเย็บระดับสากล
    3. เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญทางด้านการตัดเย็บแก่ชุมชน สามารถสร้างระบบการควบคุม และตรวจสอบคุณภาพสินค้าด้านกายภาพได้
    4. เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    กลุ่มเกษตรกร จ.มหาสารคาม, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงราย, ยโสธร, นครราชสีมา, ราชบุรี, เชียงใหม่ และฉะเชิงเทรา

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. กลุ่มชาวบ้านได้รับความรู้เชิงเทคนิคการตัดเย็บที่สำคัญต่อโครงสร้างเสื้อผ้า
    2. เสื้อผ้าที่ผลิตจากแบบตัดมาตรฐานของโครงการจะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
    3. ผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจะได้รับ Size Specification ที่เป็นมาตรฐาน
    4. ได้นำวิธีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ไปใช้ในระบบการผลิตได้อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐาน และสามารถปฏิบัติได้ด้วยกลุ่มชุมอย่างต่อเนื่อง

  17. การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้
    ผู้วิจัย: อ.พิศุทธุ์ ศิริพันธุ์ หัวหน้าโครงการ
    ผศ. อำไพ เปี่ยมอรุณ ผู้ร่วมโครงการ
    ผศ. ธีระ วีณิน ผู้ร่วมโครงการ
    ผศ. ทรงกลด จารุสมบัติ ผู้ร่วมโครงการ
    ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์



    วัตถุประสงค์:
    1. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้มีคุณภาพ
    2. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการใช้ไม้อย่างคุ้มค่า
    3. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
    4. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้หลายรูปแบบ เพื่อการขยายช่องทางการจำหน่าย
    5. เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

    กลุ่มเป้าหมาย:
    1. กลุ่มศิลปประดิษฐ์หัตถกรรม อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์
    2. กลุ่มผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ตกแต่งบ้าน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

    ผลลัพธ์ของโครงการ:
    1. กลุ่มเกษตรกรจะได้รับการอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ถูกต้องในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้
    2. เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร
    3. เป็นการใช้ประโยชน์จากไม้อย่างคุ้มค่า
    4. เป็นการพัฒนาคุณภาพของเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้ดีขึ้น เพื่อสามารถนำไปสู่การรับรองมาตรฐาน มก.-ธ.ก.ส.

 

 

 

 



 
-