โครงการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตประชาชนในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Research Development and Technology Transfer Project
for Improve Quality of Life of People in The Project Under The Initiation
of H.R.H. Princess MahachakriSirindhorn’s


แก้วขวัญ วัชโรทัย1 ที่ปรึกษา
วิโรจ อิ่มพิทักษ์2 หัวหน้าโครงการ
คณะผู้วิจัย กิตติ ขันธมิตร3/1, ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางค์กูร3/2, คมสรรพ์ บุณยสิงห์3/2, สิตาภา พิจิตบันดาล3/2,
ชวลิต ฮงประยูร3/3, พงษ์สันติ์ สีจันทร3/3, สุรชัย ประเสริฐสรวย3/4, กาญจเนศ อรรถวิภาคไพศาลย์3/5,
.สัญชัย พัฒนสิทธิ์3/4, สาโรช อังสุมาลิน3/5, ทัศนีย์ อนมาน3/6, อรสา สุกสว่าง3/7, สมศรี ภัทรธรรม3/4


สรุปการดำเนินงานโครงการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

1. ด้านGIS และ Remote sensing
               1.1 การรวบรวมข้อมูล GIS และ Remote sensing และการปรับแก้ข้อมูล
รวบรวมข้อมูลด้านGIS ของพื้นที่ต้นแบบในการวิจัย ( อำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอบ่อเกลือจังหวัดน่าน)
               1.2 จัดสัมมนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
จัดโครงการสัมมนาและฝึกอบรมด้าน GIS และ Remote sensing ให้แก่บุคคลกลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานสร้างเครือข่ายร่วมวิจัยโครงการฯและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน GIS และ Remote sensing จำนวน 7 ครั้ง

ลำดับ
ชื่อโครงการ
วันที่และสถานที่ปฏิบัติ
1
การสัมมนาเชิงปฎิบัติการเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับการวิจัยรูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตในท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน 54 คน
11 -13 กรกฎาคม 2546
ณ ห้องนนทรี KU HOME มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
2
การสัมมนาเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดการฐานข้อมูลสำหรับการวิจัยรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน 25 คน
30 สิงหาคม - 2 กันยายน 2546
ณ โรงแรมป่าปัวภูคา อ.ปัว จ.น่าน
3
โครงการฝึกอบรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐาน (GIS) จำนวน 25 คน
25 -29 สิงหาคม 2546 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชั้น 9 อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4
การฝึกอบรมโครงการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์– การวิเคราะห์เชิงพื้นที่วันที่ จำนวน 30 คน
12 -16 มกราคม 2547 ณ ห้องฝึกอบรม
ชั้น 1 ตึกดาวเทียม สำนักงานพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (องค์การมหาชน)
5 การฝึกอบรมโครงการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐาน (GIS) : การสร้างและออกแบบ จำนวน 25 คน 10 -14 พฤษภาคม 2547 Model ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชั้น 9 อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ : การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่โครงการภูฟ้าพัฒนาฯ จำนวน 41 คน 22-26 พฤษภาคม 2547 ณ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
7 การฝึกอบรมโครงการหลักสูตรการสำรวจภาพระยะไกลขั้นพื้นฐาน (RS) จำนวน 20 คน 21-30 กรกฎาคม 2547 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 9 อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ผลการดำเนินงาน

  1. ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้าน GIS ของพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
  2. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน GIS และ Remote sensing ให้แก่ กลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นบุคคลในพื้นที่และบุคคลที่สามารถเป็นเครือข่ายในอนาคต

รูปกิจกรรมต่าง ๆ



2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ
               2.1 ในพื้นที่ต้นแบบ (อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน )
                          1. สำรวจพื้นที่โครงการวิจัยฯในพื้นที่ต้นแบบ
                          2. ประชุมคณะวิจัยในโครงการฯเพื่อจัดทำโครงสร้างฐานข้อมูลและกำหนดรูปแบบการนำเข้าฐานข้อมูล
                          3. จัดทำโครงสร้างฐานข้อมูล
                          4. ปรับโครงสร้างฐานข้อมูล
                          5. เก็บข้อมูล(ระดับครัวเรือน)และลงรหัส
                          6. ออกแบบการลงฐานข้อมูล
                          7. จัดเก็บฐานข้อมูล
                          8. การตรวจสอบและปรับแก้ฐานข้อมูล (กำลังดำเนินการ)
               2.2 การขยายพื้นโครงการวิจัยฯสู่พื้นที่ในโครงการพระราชดำริฯอื่นๆ
                          - สำรวจพื้นที่ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และจัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง“การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์”
                          - สำรวจพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม และ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน

  1. ได้ฐานข้อมูลระดับครัวเรือนภาพรวมทั้ง 5 ด้าน ในพื้นที่ต้นแบบ (ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน) โดยจัดเก็บฐานข้อมูลใส่โปรแกรม EXCELL ซึ่งสามารถแปลงไปสู่ โปรแกรมอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ ทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. มีการประสานความร่วมมือและเกิดการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์นานาชาติฯกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่อันนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการทำงานในอนาคต
  4. ได้ข้อมูลมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่และข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ในโครงการพระราชดำริพื้นที่อื่นๆที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนดำเนินการขั้นต่อไป


 

1เลขาธิการสำนักพระราชวัง
2สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3/1หน่วยงาน สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
3/2ศูนย์นานาชาติสิรินธรเพื่อการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
3/3ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กพส. มก.
3/4สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มก.
3/5ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเกษตร มก.
3/6ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
3/7ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มก.