คำฝอยเป็นพืชไร่ที่ปลูกเพื่อนำเมล็ดไปสกัดน้ำมัน
น้ำมันคำฝอยมีคุณภาพดีเหมาะแก่การบริโภค เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่ประมาณ
72-85 % นอกจากนี้น้ำมันคำฝอยยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง
น้ำมันขัดเงา และไบโอดีเซล เป็นต้น กากเมล็ดที่เหลือจากการสกัดน้ำมันจะมีโปรตีนสูง
ใช้เป็นอาหารสัตว์หรือทำปุ๋ยนอกจากนี้กลีบดอกที่ตากแห้งนำมาใช้เป็นชาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพซึ่งมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต และช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี
สำหรับประเทศไทย
ได้เคยมีการส่งเสริมให้ปลูกคำฝอยแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากพันธุ์คำฝอยที่ส่งเสริมให้ปลูกนั้นเป็นพันธุ์ที่มีหนามที่ใบ
และที่กลีบเลี้ยงรองดอก ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าไปปฎิบัติงานในแปลงปลูก
และการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะการเก็บกลีบดอก
โครงการปรับปรุงพันธุ์คำฝอยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แนะนำคำฝอยไร้หนามพันธุ์พานทอง
แก่เกษตรกร ในปี พ.ศ.2542ซึ่งให้ผลผลิตเมล็ด และกลีบดอกอยู่ในระดับดี
และมีเปอร์เซ็นต์กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
การปลูกคำฝอย
ในพื้นที่อาศัยน้ำฝนเวลาที่เหมาะสมคือ
ประมาณกลางเดือนกันยายนถ้ามีน้ำชลประทานสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนมกราคม
ถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งดินยังมีความชื้นเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของคำฝอย
และการตากกลีบดอกคำฝอยก็จะไม่มีฝน ถ้าในพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม
การเตรียมดิน
ควรไถอย่างน้อย1-2
ครั้ง แล้วพรวน คำฝอยเป็นพืชที่มีรากลึก การใช้ไถซี่ หรือไถดินให้ลึกจะช่วยให้รากคำฝอยเจริญเติบโตได้ดี
วิธีการปลูก
การปลูกคำฝอยมี
2 วิธี คือปลูกแบบหว่าน และปลูกเป็นแถว ปลูกแบบหว่านใช้เมล็ด 2.5-3
กก./ไร่ ปลูกเป็นแถวใช้เมล็ด 1.5-2 กก./ไร่ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 30-
50 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นประมาณ 20 เซนติเมตร จำนวน1 ต้น/หลุม สำหรับการปลูกเพื่อเก็บกลีบดอกควรใช้ระยะปลูก
30x20 เซนติเมตร หรือ30x25 เซนติเมตร โดยปลูกคำฝอย 5 แถว และเว้น 1
แถวเพื่อสะดวกในการเข้าไปเก็บกลีบดอก
การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยสูตรผสม
16-20-0 หรือ 15-15-15 ก่อนปลูก อัตรา 20-30 กก./ไร่
การควบคุมวัชพืช
เมื่อปลูกคำฝอยแล้วใช้สารคุมวัชพืช ใช้อะลาคลอร์อัตรา 320 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ฉีดพ่นในแปลง
สำหรับการกำจัดวัชพืชโดยใช้รถไถพรวน หรือ แรงงานคน ควรทำประมาณ 2 ครั้ง
เมื่อปลูกคำฝอยได้ 1 เดือน และอีกครั้งเมื่อวัชพืชขึ้นหนาแน่น
การเก็บเกี่ยว
คำฝอยเมื่อสุกแก่เมล็ดจะไม่ร่วง ระยะเวลาที่เหมาะสมแก่การเก็บเกี่ยวเมล็ดคือ
ประมาณ 30 วัน หลังจากดอกบานหมดแล้ว ตัดคำฝอยทั้งต้น โดยใช้แรงงานคน
หรือใช้เครื่องเก็บเกี่ยว ถั่วเหลือง งา หรือข้าวก็ได้ แล้วนำไปใส่ถุงผ้าใช้ไม้ทุบเพื่อให้เมล็ดร่วง
หรือจะใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองกะเทาะเมล็ดออกก็ได้ จากนั้นทำความสะอาดฝุ่น
และเศษผงออก
การเก็บกลีบดอก
การเก็บเกี่ยวกลีบดอกจะเก็บหลังจากดอกบาน
และผสมพันธุ์แล้ว สังเกตได้จากกลีบดอกจะมีสีแดงเข้ม หรือสีส้ม และกลีบดอกวงแรกสลดลงส่วนกลีบดอกวงที่สองบานเต็มที่แล้ว
การเก็บกลีบดอกควรเก็บตอนเช้า หรือตอนบ่ายที่มีแสงแดดไม่ร้อนจัด การเก็บควรเก็บทุกๆ
2-3 วัน ต่อจากนั้นนำกลีบดอกมาตากแห้งประมาณ 3 วันหรือผึ่งลมประมาณ
7วัน กลีบดอกจะแห้งพร้อมที่จะเก็บไว้ใช้ต่อไป ถ้ามีตู้อบควรนำกลีบดอกแห้งเข้าอบที่อุณหภูมิ
400 C ประมาณ 2ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้เก็บกลีบดอกได้นาน และทำให้กลีบดอกมีกลิ่นหอม
ข้อควรระวัง
ห้ามนำกลีบดอกสดมาอบให้แห้งด้วยตู้อบเพราะจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำไม่เป็นสีส้มแดง
ลักษณะคำฝอยไร้หนามพันธุ์พานทอง
อายุวันออกดอก
68 วัน
ความสูง 100 เซนติเมตร
จำนวนช่อดอกต่อต้น 40 ช่อดอก
เมล็ดต่อช่อดอก 16-18 เมล็ด
ผลผลิตเมล็ด 138 กก./ไร่
น้ำหนัก 100 เมล็ด 4.13 กรัม
ผลผลิตกลีบดอกแห้ง 8-10 กก./ไร่
ปริมาณน้ำมัน 27.13 เปอร์เซ็นต์
เปอร์เซ็นต์กรดไขมันในคำฝอยพันธุ์พานทอง
กรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมด
(UNSATURATED FATTY ACID)
|
90.85% |
กรดโอลิอิก (OLEIC CID)
|
14.48% |
กรดลิโนลิอิก (LINOLEIC
ACID) |
75.91% |
กรดลิโนลินิก (LINOLENIC
ACID) |
0.46% |
กรดไขมันอิ่มตัวทั้งหมด
(SATURATED FATTY ACID) |
9.15% |
กรดปาล์มมิติก (PALMITIC
ACID) |
6.94% |
กรดสเตียริก
(STEARIC ACID) |
2.21% |
|