- งานวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์แฝก
9 โครงการ
- งานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานการเจริญเติบโต
8 โครงการ
- งานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานการขยายพันธุ์
6 โครงการ
- งานวิจัยด้านการเขตกรรม
3 โครงการ
- งานวิจัยการปลูกแฝกร่วมพืชเกษตร
4 โครงการ
- งานวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
7 โครงการ
- งานวิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อม
9 โครงการ
- งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
11 โครงการ
รวม 57 โครงการ
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก
วันที่ 24 กรกฎาคม 2540 พระบรมราโชวาทในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษและหญ้าที่มีคุณอย่างหญ้าแฝก
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรง
ๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคงและมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนาทำให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี
วันที่ 25 กรกฎาคม 2540 พระบรมราโชวาทในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ
เช่น บนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันและร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ
หญ้าแฝกที่ปลูกโดยหลักวิธีดังนี้จะช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
รักษาความชุ่มชื้นในดินเก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงแหล่งน้ำ
ซึ่งจะอำนวยผลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ
การปลูกแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
บริเวณวิทยาเขตต่าง ๆ และศูนย์สถานีวิจัยต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปัจจุบันมีหญ้าแฝก
ดังนี้
วิทยาเขตสกลนคร 2,976,600 กอ
วิทยาเขตลพบุรี 80,000
กอ
วิทยาเขตศรีราชา 20,000
กอ
วิทยาเขตกำแพงแสน 100,000 กอ
สถานีวิจัยเขาหินซ้อน 50,000
กอ
สถานีวิจัยปากช่อง 50,000
กอ
สถานีวิจัยดอยปุย 60,000
กอ
สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ 72,000
กอ
รวม 3,408,600
กอ
สามารถขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรปลูกในปีต่อไปได้ไม่น้อยกว่า
30 ล้านต้น
ปลูกแฝกให้ได้ดี
อยากปลูกแฝก
ให้ได้ดี นี้ไม่ยาก
โดยเริ่มจาก ปลูกถูกที่ และระบบ
การเตรียมดิน ให้มีธาตุ อาหารครบ
เลือกชนิดแฝก ตามที่พบ ในลุ่มดอน
อันแฝกลุ่ม
ปลูกที่ลุ่ม หรือชื้นแฉะ
แฝกดอนแนะ ปลูกที่ดอน ครูท่านสอน
ปลูกแล้วกลบ กดดินแน่น ไม่โยกคลอน
แล้วค่อยผ่อน รดน้ำ ตามดูแล
หนึ่งเดือนราก
จับดินใหม่ ไปได้สวย
ต้นไหนม้วย ปลูกซ่อมพลัน มิเชือนแช
สามเดือนแล้ เขียวชอุ่ม พุ่มงดงาม
แฝกงามอนุ รักษ์ดินน้ำ ตามดั่งใจ
แถวแฝกช่วย
กักกั้นดิน ไม่รินไหล
ความอุดม สมบูรณ์ดิน ไม่จากไป
ปลูกพืชไร่ พืชสวน ล้วนงอกงาม
ชาวสยาม ยิ้มหล้าเพราะ พระภูมินทร์
|
รศ.ฉลองชัย
แบบประเสริฐ
4 มกราคม 2549
|
แถวแฝกห่างตามความลาดชัน
การปลูกแฝกตามพื้นที่ลาดชัน
แถวแฝกห่างถี่นั้นกำหนดได้
หากความชันห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ไซร้
แถวแฝกให้ห่างได้สามสิบเมตร
สิบเอ็ดถึงสิบห้าท่านว่าไว้
วางแนวแฝกให้ห่างกันยี่สิบเมตร
เป็นแนวเขตเหมาะสมและกลมกลืน
ดินไม่ลื่นไหลลงล่างตามแนวชัน
อันสิบหกถึงยี่สิบนั้นท่านว่า
ห่างสิบห้าสองแถวเขตที่แบ่งกั้น
ส่วนยี่สิบเอ็ดถึงยี่สิบห้านั้น
ขอให้ท่านปลูกห่างสิบสองเมตร
ยี่สิบหกถึงสามสิบเขตแถวแฝก
ไม่ต้องแปลกปลูกให้ห่างราวสิบเมตร
สามสิบเอ็ดถึงสามสิบห้าไซร้
ห่างแปดเมตรดินไม่ไหลลงที่ต่ำ
หากความชันมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่านี้
ให้ปลูกป่าแทนที่ดีเลิศเสริฐนำ
ไม่ควรทำผักพืชไร่ใดใดเลย
ขอเฉลยทำตามนี้ดีจริงเอย
|
รศ.ฉลองชัย
แบบประเสริฐ
18 มกราคม 2549 |
|