ศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงใช้หลักวิชาการพัฒนาสังคม
ในเชิงสหวิทยาการ นับตั้งแต่การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท โดยการรวบรวม ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงพลวัตรของชุมชน
อย่างครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการโครงการพัฒนาอีกด้วย อาทิเช่นทรงพระราชทานพระราชดำริอันทรงคุณค่ายิ่ง ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า “โครงการต่าง ๆ นั้น ต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่อย่างรีบด่วนและมีผลในระยะยาว โดยที่การพัฒนานั้นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ความจำเป็น และประหยัด ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ประชาชนต้องสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด” ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า “กษัตริย์นักพัฒนา” ทรงปฏิบัติพระราช-กรณียกิจด้านรัฐศาสตร์อย่างครบถ้วน ทั้งจารีตประเพณีและทางการเมือง การปกครองยังความร่มเย็นเป็นสุขแก่พสกนิกร และนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศเป็นอเนกอนันต์ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในฐานะ
“พระธรรมราชา” ได้โดยสมบูรณ์