ศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์ ในงานภาษาศาสตร์ประยุกต์ ทรงแสดงถึงพระอัจฉริยภาพทาง
อรรถศาสตร์ คือ ทรงสามารถเลือกใช้ภาษาที่เรียบง่าย แต่มีความชัดเจน และมีความหมายลึกซึ้งชวนให้คิด
วิเคราะห์ ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาได้อย่างสมบูรณ์ เช่น “ขาดทุนคือกำไร” “ก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน
โจมตี” และ “โครงการแก้มลิง” เป็นต้น ความไพเราะลึกซึ้งในพระราชดำรัสในวโรกาสต่าง ๆ ย่อมปรากฏ
อยู่เสมอ เป็นต้นว่า “มีความจำเป็นที่จะถอยหลังเพื่อจะก้าวหน้าต่อไป” ทรงมีพระอัจฉริยะ และพระปรีชา
สามารถในการทรงพระราชนิพนธ์ เช่น “พระมหาชนก” ที่ได้ทรงสอดแทรกพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนา โครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชน แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถทางภาษาศาสตร์และด้วยสายพระเนตร
อันยาวไกลที่มุ่งหวังให้ราษฎรทุกระดับนั้นได้มีความรู้ในวิชาการสาขาต่าง ๆ ด้วยสื่อภาษาที่เหมาะสมแก่วัย
ทรงมีพระราชนิยมในทางศิลปะและดนตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพระราชนิพนธ์เพลงและการทรง
ดนตรี เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจ ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบรู้ทางด้านดนตรีและทรงสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้เกือบทุกชนิด ทรงได้รับการถวายการยกย่องว่าทรงเป่าโซปราโน แซกโซโฟน ได้ดีที่สุดใน
ประเทศไทย ทรงสนับสนุนให้มีการก่อตั้งวงดนตรี “วงลายคราม” “วง อ.ส.วันศุกร์” และ “วงสหายพัฒนา”
และได้ทรงให้การสนับสนุนการดนตรีของนักเรียน นิสิตนักศึกษาในทุกระดับ เคยเสด็จฯ ไปทรงดนตรี ณ มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยบางแห่งเป็นการส่วนพระองค์ รวมถึง ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงพระราชนิพนธ์และทรงมีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลงไว้มากเป็นจำนวนถึง 43 เพลง สถาบันการดนตรีและศิลปะอันเก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งกรุงเวียนนา ได้ทูลเกล้า
ถวายปริญญาสมาชิกกิตติมศักดิ์ อันดับที่ 23 ซึ่งนับเป็นชาวเอเชียแต่เพียงพระองค์เดียวที่ได้รับการสดุดีพระเกียรติ