ศาสตร์ด้านวิศวกรรม ทรงรับเป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการชลประทาน โดยพระราชทาน
พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อให้งานทั้งหลายบังเกิดความละเอียดรอบคอบ งานชลประทานตามพระราชดำริมี
ลักษณะที่แตกต่างออกไปตามความเหมาะสมของสภาพในแต่ละท้องถิ่น และปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในด้านการ
เก็บกักน้ำ และการระบายน้ำ ช่วยให้พสกนิกรของพระองค์รอดพ้นจากความทุกข์ยาก ความอดอยาก ความ
แห้งแล้งกันดารน้ำให้ได้มีโอกาสประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพอย่างมีความสุข
ตามฐานะ ในด้านการต่อเรือและเครื่องกลเรือ ได้มีพระราชปรารถให้กรมอู่ทหารเรือต่อเรือยนต์รักษาฝั่ง
ต. 91 เพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือเป็นครั้งแรก และเสด็จฯ วางกระดูกงู ตลอดจนทรงทดลองและตรวจ
สอบสมรรถนะของเรือด้วยพระองค์เอง รวมทั้งพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยต่าง ๆ ทำให้กองทัพเรือ
มีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไว้ใช้ในราชการ ทรงต่อเรือใบ “ราชปะแตน” และ “นวฤกษ์” ด้วยฝีพระหัตถ์
พระองค์เอง และทรงนำเรือใบนวฤกษ์เข้าแข่งขันในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ และ
ทรงเปิดอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ และอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ณ อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี ทรงมีพระราชดำริว่า คอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่มีกำเนิดมาจากต่างประเทศ การจะทำให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย จะต้องปรับปรุงให้เข้ากับความต้องการของประชาชนในประเทศ จึงทรง
สนพระทัยเป็นพิเศษด้านการประดิษฐ์ตัวอักษร โดยทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายแบบ เช่น แบบจิตรลดา
และแบบภูพิงค์ ทรงประดิษฐ์ตัวอัขระเทวนาครีเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการศึกษาข้อธรรมะในพุทธศาสนา
ได้สะดวกยิ่งขึ้น ทรงเข้าถึงและบรรลุแก่นแท้ในศาสตร์ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง เห็นได้จาก
พระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่พระราชทานนั้นมีลักษณะเฉพาะ คือมีความชัดเจนกระจ่าง
มีลำดับและขั้นตอนแน่นอน ปราศจากความกำกวมและสามารถปฏิบัติได้ทันที รวมทั้งมีกำหนดเวลา
ทำงานที่แน่นอน สามารถวัดผลและเปรียบเทียบผลได้ ทรงบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่การอนุรักษ์
ทรัพยากรน้ำ พร้อมกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ การสังเคราะห์และการพัฒนา
ทรัพยากรน้ำ การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำทั้งในด้านการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
และภาวะน้ำท่วมในฤดูฝน ตลอดจนการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำของชุมชน
เมืองใหญ่ ๆ เสียไปไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ ทรงพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริทั่วทุกท้องถิ่นชนบททั่วประเทศ ช่วยให้ราษฎรได้มีน้ำใช้ในการดำรงชีพ ทำเกษตรกรรม
เพาะปลูก เลี้ยงปลาและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งช่วยให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น