การขยายพันธุ์องุ่นพันธุ์ดี แบบมืออาชีพ

 
กิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์
ศูนย์วิจัยระบบนิเวศเกษตร
 
1. หลักการและเหตุผล

      ในปัจจุบันองุ่นเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีการปลูกเป็นการค้ากันอย่างแพร่หลายในเขตภาคกลาง (จังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี อยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ปทุมธานี และนนทบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุดรธานี เลย สกลนคร) ภาคเหนือ (เพชรบูรณ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร น่าน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง) และ ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ชลบุรี) พื้นที่ปลูกรวมทั้งประเทศมากกว่า 23,000 ไร่ ดังนั้นการขยายพันธุ์องุ่นพันธุ์ดี จึงมีความจำเป็น ทำให้องุ่นสายพันธุ์ดี ที่ได้รับตรงตามพันธุ์ สามารถยืดอายุการให้ผลผลิตมากขึ้น ระบบรากสามารถทนทานต่อโรคและแมลงได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ การขยายพันธุ์องุ่นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่งและการ เสียบยอด ซึ่งเทคโนโลยีการขยายพันธุ์องุ่นเหล่านี้ ควรส่งเสริมเผยแพร่และถ่ายทอดสู่เกษตรกร นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบธุรกิจและผู้สนใจทั่วไป ให้ทราบจะได้นำความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ทักษะและความชำนาญไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

2. วัตถุประสงค์


      เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตองุ่นเป็นการค้าและการขยายพันธุ์องุ่นพันธุ์ดีแบบมืออาชีพ ไปสู่เกษตรกร นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบธุรกิจและผู้สนใจทั่วไป

3. คณะวิทยากรในการฝึกอบรม


     3.1นายกิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์
     3.2 ผศ.ดร.รวี เสรฐภักดี
     3.3 อาจารย์พนามาศ ตรีวรรณกุล
     3.4 นายวัลลภ โพธิ์สังข์

4. คณะกรรมการผู้ดำเนินการจัดการฝึกอบรม

      4.1 นายกิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์ ประธาน
      4.2 นายวัลลภ โพธิ์สังข์ ฝ่ายสถานที่และยานพาหนะ
       4.3 นางรัตนา สุวรรณเลิศ ฝ่ายปฏิคมและการต้อนรับ
       4.4 นางสาวจินดา กองสัมฤทธิ์ ฝ่ายการเงิน อาหารและเครื่องดื่ม
       4.5 นางนวลปรางค์ ไชยตะขบ ฝ่ายรับลงทะเบียน
       4.6 นายมนต์ชัย แสงมณี ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์
       4.7 นางจารุวรรณ สมบัติภิรมย์ ฝ่ายเลขานุการ

5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

      เกษตรกร นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 80 คน (จัดฝึกอบรม 2 ครั้งๆ ละ 40 คน)

6. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

      ศูนย์วิจัยระบบนิเวศเกษตร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7. ระยะเวลาในการจัดฝึกอบรม จำนวน 2 วัน

       7.1 โครงการการฝึกอบรมรุ่นที่ 4 : ระยะเวลา 1 วัน(วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 13.00 –16.00 น.) ประมาณ 40 คน
       7.2 โครงการการฝึกอบรมรุ่นที่ 5 : ระยะเวลา 1 วัน(วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 13.00 –16.00 น.) ประมาณ 40 คน

8. วิธีการดำเนินการจัดฝึกอบรม

      หลักสูตรการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมเรื่อง : การขยายพันธุ์องุ่นพันธุ์ดี แบบมืออาชีพ ประกอบด้วย หลักสูตรการฝึกอบรมดังนี้

8.1 ภาคบรรยายทฤษฎี

      การบรรยายในหัวข้อเรื่อง : การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก การปฏิบัติดูแลและรักษา การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่งและการเปลี่ยนยอด

8.2 ภาคปฏิบัติ

      การฝึกปฏิบัติจริงในเรื่อง : การติดตาองุ่นแบบชิพ การเพาะเมล็ด การลับมีดติดตาและอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ

9. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

      จำนวน 45,000 บาท (ตามรายละเอียด ในประมาณค่าใช้จ่ายการจัดฝึกอบรมที่แนบมานี้)

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ ทักษะ และความชำนาญ ในการปลูกองุ่นและการขยายพันธุ์องุ่นเป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการขยายพันธุ์องุ่น เพื่อเป็นการค้าและการติดตาขยายพันธุ์ไม้ดอกบางชนิด (กุหลาบ ชบา และอื่น ๆ) ได้เป็นอย่างดี

11. สถานที่ในการฝึกอบรม

      อาคารศูนย์เรียนรวม 2 ห้อง 210