การพัฒนาการปลูกองุ่นพันธุ์ทำไวน์และการผลิตไวน์ |
จรัล เห็นพิทักษ์1 |
ประเทศไทยจัดว่าตั้งอยู่ในแถบเขตร้อนของโลกที่สามารถจะปลูกองุ่นทั้งชนิดรับประทานสดและชนิดทำเหล้าองุ่นได้
ถ้าหากจะเปรียบในเขตกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว ประเทศไทยได้เปรียบดีในแง่ของสภาพทางภูมิประเทศ
สภาพทางการเมือง และศาสนา นอกจากนี้คนไทยนิยมดื่มเครื่องดองของเมาและสุรา
ซึ่งในงานเลี้ยงทุกระดับจะมีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ จากรายงานของศูนย์สารสนเทศการเกษตร
สถิติที่ผ่านมาเครื่องดื่มประเภทแชมเปญ ไวน์ และเหล้าองุ่นชนิดต่าง ๆ รวมกัน
(wine) ประเทศไทยยังต้องสั่งนำเข้ามาปีละไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ ทำให้เป็นที่ปรารถนาของนักลงทุนทั้งของชาวไทย และต่างประเทศอย่างมากที่จะลงทุนผลิตองุ่น
เพื่อทำเหล้าองุ่นขึ้นในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้ดื่ม ตลอดจนเพื่อนชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยอีกจำนวนมากซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้น
การผลิตเหล้าองุ่นได้เองภายในประเทศนอกจากจะทำให้ประชาชนของชาติได้มีอาชีพ
มีงานทำและมีรายได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดการเสียเปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศได้อีกมาก
ในขณะนี้มีบริษัทที่สามารถผลิตเหล้าองุ่นออกมาจำหน่ายบ้างแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เหล้าองุ่นนั้นทำมาจากพันธุ์องุ่นที่ใช้รับประทานสดเพียงอย่างเดียว คุณภาพของเหล้าองุ่นที่ได้จึงไม่สู้จะดี บางบริษัทผลิตเหล้าองุ่นจากพันธุ์ทำเหล้าองุ่นให้คุณภาพเป็นที่ยอมรับของนักดื่มได้ แต่ก็มีปัญหาเรื่องชนิดของพันธุ์องุ่นที่ใช้ผลิตมีจำกัด ปริมาณผลผลิต เทคนิคการผลิต การป้องกันกำจัดโรคแมลงและวัชพืชยังมีปัญหา จึงทำให้มีปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ราคาจำหน่ายสูงเกินไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร ได้นำพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์มาศึกษาทดลองปลูกและได้นำผลผลิตไปทดลองทำไวน์ โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิต ภัณฑ์อาหาร และคณะอุตสาหกรรมเกษตร พบว่าสำหรับองุ่นชนิดทำไวน์ขาวบางพันธุ์มีแนวโน้มให้คุณภาพของไวน์เป็นที่ยอมรับได้ ส่วนพันธุ์องุ่นทำไวน์แดง ยังมีปัญหาเรื่องผลผลิตต่ำ คุณภาพของไวน์ยังต้องปรับปรุง อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญคือ การขาดแคลนเงินงบประมาณในการผลิตองุ่น การดูแลรักษา การขาดอุปกรณ์ที่สำคัญในการผลิตไวน์ จึงทำให้การวิจัยไม่ต่อเนื่องต้องหยุดชะงักไป ไวน์นับเป็นสินค้านำเข้าที่ได้รับความนิยมสูงในช่วง
9-10 ปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากข้อมูลทางด้านสุขภาพ และความเป็นสากลนิยม
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่หลายคนกล่าวว่า ทำให้เสียเงินตราแก่ต่างประเทศ การผลิตไวน์
นับว่าเป็นการแปรสภาพผลิตผลการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (Value
Added) นอกจากนี้การตลาดของไวน์ได้ถูกกระแสสังคมชักนำ จนไวน์เป็นสินค้าที่มีศักยภาพการตลาดโดยอัตโนมัติ
พันธุ์องุ่นทำไวน์ขาวที่ปลูก ณ สถานีวิจัยกาญจนบุรีปีพ.ศ.2547
|
1สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |