การรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้

 

วินัศ ภูมินาถ และ คณะ
ฝ่ายเคมีและกายภาพอาหาร
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ลักษณะการดำเนินงานของโครงการวิจัย

      1. วิเคราะห์จุดเสี่ยงของสาเหตุที่มีผลให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ด้อยลง พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงคุณภาพ
      2. พัฒนาขั้นตอน กระบวนการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มให้ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด

ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกร

     
กลุ่มแม่บ้านเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาผสมผสานกับภูมิปัญญาของเกษตรกรในท้องถิ่นและจากการร่วมแรงร่วมใจช่วยกันผลิต ผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากการรวมกลุ่มเพื่อกิจกรรมอื่นๆ สินค้าที่ผลิตได้สามารถแข่งขันจำหน่ายได้ภายในชุมชนและชุมชนอื่นๆ ผลิตภัณฑ์สินค้าจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตระหนักถึงมาตรฐานและคุณภาพในการผลิต ผลิตภัณฑ์

แนะนำผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน

     น้ำส้มเกล็ดหิมะ (Slurpy) เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่ใช้ความเย็นในการเก็บรักษาความสดของน้ำผลไม้ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะผสมผสานระหว่างเครี่องดื่มเย็นที่ให้ความสดชื่น แก้กระหาย เหมาะสำหรับผู้บริโภคเมืองร้อน และน้ำผลไม้จากผลส้มที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ กรดอินทรีย์ สารอาหาร และกลิ่นรสของผลไม้ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรกลุ่มแม่บ้าน ต.เนินดินแดง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ได้รวมกลุ่มกันผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ ชนิดน้ำส้มเกล็ดหิมะ และจำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง โดยได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

แนวการวิจัยและแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้

      การรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเตรียมและจัดการวัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นการวิเคราะห์ วางแผน และควบคุมกระบวนการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์รายละเอียดในแต่ละขั้นตอน และบางขั้นตอนต้องเฝ้าระวัง หมั่นตรวจสอบ รวมทั้งต้องปฏิบัติงานเป็นระบบอย่างถูกต้องเพื่อคุณภาพมาตรฐานและความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ที่ได้

 

 

 

      แนวโน้มของตลาดสินค้าเครื่องดื่มในประเทศยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องขึ้นกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้การผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ต้องแข่งขันกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคนอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วๆไปของเครื่องดื่ม

      งานวิจัยเล็งเห็นเป็นอย่างยิ่งถึงการรักษาคุณภาพในขั้นตอนกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ให้มีคุณภาพ ที่จะตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมากขื้น รวมทั้งบางขั้นตอนของกระบวนการการผลิต จำเป็นต้องปรับเพิ่มหรือลดบางกระบวนการลงให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มสูงขึ้น


* ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มก. - ธกส.ในโครงการพัฒนาคุณภาพและการบรรจุของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั่วประเทศ