การใช้ประโยชน์จากใบ กาบ เปลือกหน่อไผ่และกิ่งไผ่พันธุ์หวานอ่างขางและพันธุ์หยก
( Utilization of Dendrocalamus latiflorus Munro and Bambusa oldhamii Munro
From Leaves, Spathe, Sprout Coat and Branch)


วิชัย หฤทัยธนาสันติ์1 , วุฒินันท์ คงทัด1 , วารุณี ธนะแพสย์1,
ชัยพร สามพุ่มพวง1 และสาริมา สุนทรารชุน1
Vichai Haruthaithanasan1 , Wuttinant Kongtud1 , Warunee Thanapase1 ,
Chaiyaporn Sampoompuang1 and Sarima Sundhrarajun1


      การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบ กาบ เปลือกหุ้มหน่อไผ่และกิ่งไผ่พันธุ์หวานอ่างขางและพันธุ์หยก ผลการศึกษาใบไผ่พันธุ์หวานอ่างขางที่เหมาะสมนำมาห่อบะจ่างคือ ใบที่ 5-8 จากปลายใบ มีความกว้างเฉลี่ย 8.42 เซนติเมตร ยาว 39.56 เซนติเมตร น้ำหนักสดเฉลี่ย 3.12 กรัม และน้ำหนักแห้งเฉลี่ย 1.26 กรัม ฟิกซ์สีด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต 1% เวลา 5 นาที ฆ่าเชื้อด้วยสารละลายคลอรีน 100 ppm. เวลา 30 นาที ผึ่งแห้งที่อุณหภูมิห้องจะได้ใบไผ่ที่มีสีเขียว วัดค่าสี L* a* b* ได้ 63.83, 14.07 และ11.65 ความชื้น 8.97 ค่าAw 0.496 เชื้อจุลินทรีย์ ยีส และรา ‹10 โคโลนีต่อกรัม เชื้อโคลิฟอร์ม และแบคทีเรียไม่พบ การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อใบไผ่ค่อนข้างดีมาก

      สภาวะต้มเยื่อใบไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 25% ของน้ำหนักแห้งอุณหภูมิ 100°c เวลา 3 ชั่วโมง ได้เยื่อเฉลี่ยพันธุ์หวานอ่างขาง 30.48% พันธุ์หยก 11.32%

      สภาวะต้มกาบไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 30% อุณหภูมิ 100°c เวลา 6 ชั่วโมง ได้เยื่อ 39.50%

      สภาวะต้มเปลือกหน่อไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 35% อุณหภูมิ 100°c เวลา 6 ชั่วโมง ได้เยื่อ 35.70%

      สภาวะการต้มกิ่งไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 40% อุณหภูมิ 100°c เวลา 10 ชั่วโมง ได้เยื่อเฉลี่ยพันธุ์หวานอ่างขาง 36.23% พันธุ์หยก 34.73%

      สภาวะฟอกเยื่อกาบไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 8% โซเดียมซิลิเกต 2% แมกนีเซียมซัลเฟต 0.05% และโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1.5% ของน้ำหนักแห้งอุณหภูมิ 100°c เวลา 2 ชั่วโมง วัดความขาวสว่างได้ 59.06%

      สภาวะฟอกเยื่อกิ่งไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 25% โซเดียมซิลิเกต 2% แมกนีเซียมซัลเฟต 0.05% และโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1.5% ของน้ำหนักแห้ง วัดความขาวสว่างได้ 54.29%

      คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดาษที่ทำด้วยมือแบบไทยของกระดาษใบไผ่ผสมเยื่อปอสา อัตราส่วน 80:20 ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 120±5 g/m2 ต้านการหักพับ 1.33 ครั้ง ต้านแรงดึง 5.85 N.m/g ต้านแรงฉีกขาด 14.69 mN.m2/g และต้านแรงดันทะลุ 0.57 kPa.m2/g คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดาษกาบไผ่ผสมเยื่อปอสาในอัตราส่วน 80:20 ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 70±5 g/m2 ต้านแรงดึง 4.97 N.m/g ต้านแรงฉีกขาด 11.60 mN.m2/g และต้านแรงดันทะลุ 0.52 kPa.m2/g

      คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดาษกิ่งไผ่ผสมเยื่อปอสาในอัตรส่วน 80 : 20 ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 80±5 g/m2 ต้านการหักพับ 0.17 ครั้ง ต้านแรงดึง 5.84 N.m/g ต้านแรงฉีกขาด 15.86 mN.m2/g และต้านแรงดันทะลุ 0.63 kPa.m2/g

      จากการศึกษาทดลองปรากฏว่า ใบไผ่พันธุ์หวานอ่างขางสามารถใช้ห่อบะจ่างได้ และกระดาษจากใบไผ่ กาบไผ่ และกิ่งไผ่สามารถใช้งานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์ได้

 
1สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
1Kasetsart Agricultural and Agro-Industrial Product Improvement Institute, Kasetsart University