การพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไผ่หมาจู๋ (Dendrocalamus latiflorus Munro)
เพื่อผลิตต้นกล้าแบบอุตสาหกรรม
Improvement of tissue culture technique of Ma-chiku bamboo
(Dendrocalamus latiflorus) for industrial production.


ยุพา มงคลสุข1 วราลักษณ์ รักษ์แดง1 วิลาสินี กวีกิจธรรมกุล1
เจษฎา วงค์พรหม1 และ พนิดา วงษ์แหวน1
Yupa Mongkolsook1, Waralak Rakdang1, Wilasinee Kaweekijthummakul1,
Jetsada Wongprom1, and Panida Wongwean1,4


      ไผ่หมาจู๋มีลักษณะเด่น คือ หน่อมีรสหวาน เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย หน่อไม่แข็ง และไม่มีขนเหมือนไผ่ตง เมื่อต้ม แล้วไม่เปื่อยยุ่ย ปอกเปลือกง่าย สามารถบริโภคได้เกือบทั้งหน่อ เหมาะสำหรับเข้าโรงงานเพื่อบรรจุเป็นหน่อไม้กระป๋อง ปัจจุบันหน่อไผ่หมาจู๋เป็นที่ต้องการของตลาด ประเทศจีนมีการส่งออกหน่อไม้แห้งและหน่อไม้กระป๋องไปยังประเทศ ญี่ปุ่น ในปี 2528 จำนวน 140,000 ตัน ไต้หวันส่งออก 40,000 ตัน เป็นมูลค่าถึง 40 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นที่ ต้องการของตลาดทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รุ่งนภา, 2545)

      นอกจากใช้หน่อเป็นอาหารแล้ว ลำยังสามารถใช้ในการก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ หรืองานจักสานต่าง ๆ ไผ่หมาจู๋จึงจัดเป็นไม้ไผ่ที่มีศักยภาพสูงในการ ส่งเสริมการปลูกเชิงพาณิชย์ การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการใช้ตอ หรือเหง้า การปักชำลำ หรือข้อ การใช้กิ่ง แขนง ไม่เพียงพอต่อการปลูกเชิงพาณิชย์ อีกทั้งการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไผ่เป็นการต่ออายุจากต้นพันธุ์เดิม ทำให้กล้าไผ่มีอายุการปลูกสั้นลง และเนื่องจากในสภาพธรรมชาติดอกไผ่หมาจู๋มีการผสมติดยาก ได้เมล็ดจำนวนน้อย ดังนั้นการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะช่วยให้ผลิตต้นกล้าได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพียงพอต่อการขยาย พื้นที่ปลูกในอนาคต

      จากการสำรวจพื้นที่ปลูก เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ และหน่อของไผ่หมาจู๋จากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีเกษตร หลวงปางดะ ไร่สาธิตแม่เหี๊ยะ รวมทั้งหน่อ และแขนงจากต้นพันธุ์ที่ปลูกบริเวณพื้นที่โรงเรือนอนุบาลกล้าไม้ของสถาบัน ค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ไผ่ 620 เมล็ด หน่อไผ่ 23 หน่อ และตาจากกิ่งแขนง 1,088 ตา พบว่าส่วนตาที่ได้จากหน่อ และส่วนตาข้างที่ได้จากแขนงมี การปนเปื้อนแบคทีเรีย 100 เปอร์เซ็นต์ และไม่สามารถเจริญเป็นต้นได้ เมื่อเพาะเลี้ยงเมล็ดบนอาหารสูตร Murashige และSkoog (MS) พบว่าเมล็ดมีการงอก 4.03 เปอร์เซ็นต์ ได้ต้นกล้าปลอดเชื้อ 25 สายต้น (clone)

       เมื่อขยายพันธุ์ ไผ่หมาจู๋โดยเพาะเลี้ยงส่วนยอดที่เจริญในสภาพปลอดเชื้อบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA (6-benzyladenine) 0, 1 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 30 วันพบว่าอาหาร MS ที่เติม BA ทุกความเข้มข้นสามารถเพิ่มปริมาณยอดไผ่หมาจู๋ได้ แต่อาหาร MS ที่เติม BA 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ชักนำให้เกิดยอดที่แสดงอาการผิดปกติคือ ใบขาว ดังนั้นในการเพาะเลี้ยง ระยะแรก จึงใช้อาหาร MS ที่มีความเข้มข้นของ BA ต่ำเพื่อให้ต้นมีความแข็งแรงจากนั้นจึงเพิ่มความเข้มข้นของ BA ให้สูงขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดใหม่ในเวลาต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง

 
1สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
1Kasetsart Agricultural and Agro-Industrial Product Improvement Institute, Kasetsart University