สนามแม่เหล็กวิกฤตของสารตัวนำยวดยิ่งเซรามิกส์
(Bi1.7Pb0.3)Sr-Ca-Cu-O และ (Bi1.6Pb0.4)-Sr-Ca-Cu-O


สุปรียา ตรีวิจิตรเกษม และ อดิศักดิ์ บุญชื่น
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


      การศึกษาสภาพรับไว้ได้แม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิ T และสนามแม่เหล็ก H ของสารตัวนำยวดยิ่งระบบ (Bi1.7Pb0.3)-Sr-Ca-Cu-O และ (Bi1.6Pb0.4)-Sr-Ca-Cu-O โดยใช้สารตั้งต้น (2234) เตรียมโดยใช้วิธีปฏิกิริยาของแข็งบดอัดเม็ด 1 ครั้ง หรือบดอัดเม็ด 2 ครั้ง สนามแม่เหล็กวิกฤตสูงของสารตัวอย่างทั้งก้อนกับสนามแม่เหล็กวิกฤตต่ำส่วนเกรนและส่วนเมทริกซ์ของสารตัวอย่างสามารถหาได้จากการวัดสภาพรับไว้ได้เชิงซ้อน ในที่นี้พบว่าที่อุณหภูมิเข้าใกล้อุณหภูมิวิกฤต สนามแม่เหล็กวิกฤตต่ำของเมทริกซ์ Hc1m ที่ได้จากการทดลองมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่คำนวณจากแบบจำลอง Clem ซึ่งสามารถคำนวณหาค่าความลึกทะลวงลอนดอนและความยาวอาพันธ์ของเมทริกซ์ของสารตัวอย่าง โดยความหนาแน่นกระแสวิกฤตของส่วนเกรนและส่วนเมทริกซ์คำนวณจากแบบจำลอง Bean

 

Fig. 1 for sample Bi1.7Pb0.3Sr2Ca3Cu4O (N), the ac applied field amplitude are a,b,c,d,e,f,g,h = 0.1, 1, 10, 100, 200, 300, 400 and 500 A/m, respectively.