การพัฒนาและจัดการแหล่งพลอยแพร่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ |
พรสวาท วัฒนกูล1, วีระศักดิ์ อุดมโชค1, อภิชาต ลำจวน1,
ดีเซลล์ สวนบุรี1, |
โครงการวิจัยนี้เป็นตัวอย่างแรกที่นำเอาทรัพยากรธรณีท้องถิ่นมาบูรณาการกับการเกษตรและการจัดการการท่องเที่ยว
โดยผสมผสานกับภูมิปัญญา และศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ในลักษณะการวิจัยเชิงปฎิบัติการ
3 ฝ่าย ระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย โดยมีชาวบ้านนำที่ดินมารวมกันประมาณ
45 ไร่ เพื่อจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ประกอบด้วยนิทรรศการด้านธรณีวิทยา
การแสดงการร่อนแร่ การเรียนรู้เรื่องดิน น้ำ และอากาศ สวนเกษตร เส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วยจักรยาน
และที่พักแรมตามวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน โครงการวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง
ๆ แก่ชุมชน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการแหล่งพลอยของตนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรณี-เกษตรเชิงอนุรักษ์ได้
ทั้งยังเป็นแหล่งสร้างงานที่มีการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้ชุมชนสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน
โครงการวิจัยได้ดำเนินการไปได้ด้วยดีจนเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่ง และมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ของโครงการตลอดมาเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งนำผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายในมหาวิทยาลัยมาร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อปรับทิศทางของโครงการให้สู่ความสำเร็จในรูปการจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยใช้ทรัพยากรการเกษตร ธรณีวิทยา และการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นจุดขาย ทั้งนี้เพื่อให้รูปแบบการจัดการดังกล่าวสามารถเป็นตัวอย่าง และนำร่องสำหรับท้องถิ่นอื่นๆ ในประเทศต่อไป
|
1ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |