การผลิตพันธุ์หญ้ารูซี่ทนเค็มโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
(Production of Salt Tolerant Ruzi Grass (Brachiaria ruziziensis)
by Tissue Culture)


ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ1 สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล1
จันทกานต์ อรณนันท์1 และ สายัณห์ ทัดศรี2

      จากการเพาะเลี้ยงหญ้ารูซี่ พบว่าอาหารสูตรที่เหมาะสมในการชักนำเมล็ดให้เกิดยอดหลายยอด คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BAP 10 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยสามารถชักนำให้เกิดยอดเฉลี่ยสูงสุด 7.49 ยอด เมื่อนำยอดหญ้ารูซี่จำนวนมากมาฉายรังสีปริมาณ 0, 30, 50 และ 70 เกรย์ แล้วนำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากที่เติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์พบว่าเปอร์เซ็นต์ต้นที่รอดชีวิตจะลดลงเมื่อปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น และยอดที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่เติมเกลือ 2 เปอร์เซ็นต์ จะไม่สามารถรอดชีวิตได้ เมื่อนำต้นที่รอดชีวิตไปปลูกในสภาพไร่ พบว่าในจำนวนทั้งหมด 173 โคลน เกิดความแปรปรวนของลักษณะต่าง ๆ เช่น ลักษณะต้น สีกาบใบ ขนที่ใบ ความกว้างและความยาวของใบ และเมื่อนำทั้ง 173 โคลนไปปลูกในสภาพดินเค็ม สามารถคัดเลือกโคลนที่มีลักษณะดีจากทั้ง 2 แหล่งได้ 15 โคลน เมื่อนำ 15 โคลนที่คัดเลือกไว้ปลูกซ้ำในสภาพดินเค็มอีกครั้งหนึ่ง สามารถคัดเลือกโคลนที่ทนทานต่อสภาพดินดินเค็มได้ 10 โคลน และไม่พบความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอของโคลนที่คัดเลือกไว้ 15 โคลน ด้วยเทคนิค AFLP จากไพร์เมอร์ 15 คู่

1 ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
   ( Department of genetics, Faculty of Science, Kasetsart University, Bangkok, 10900)
2 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 1090
   (Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok, 10900
)